การบริหารทุนมนุษย์ตามหลักพุทธวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้มุ่งนำเสนอแนวคิดในการบริหารทุนมนุษย์ตามหลักพุทธวิธี ซึ่งการบริหารทุนมนุษย์ปัจจุบันนับว่าเป็นหัวใจที่สำคัญในการบริหารองค์การทั้งภาครัฐและเอกชนที่ทำให้เกิดการบริหารงานขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การนำหลักพุทธวิธีมาใช้ในการบริหารทุนมนุษย์นั้น พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเปรียบเทียบมนุษย์ในการพัฒนาไว้ เหมือนบัว 4 เหล่า การกำหนดมอบหมายงานให้เหมาะสมแกจริตของแต่ละบุคคลตามหลักจริต 6 ต้องยึดหลักในการอบรมพัฒนาอันเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ตามหลักอายตนะ 6 ประกอบไปด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ พระพุทธศาสนากำหนดแนวทางการการบริหารทุนมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ซึ่งเป็นหลักที่การบริหารทุนมนุษย์ต้องฝึกฝนและพัฒนา 3 ด้าน คือ ศีล เป็นการฝึกฝนพัฒนาด้านพฤติกรรม สมาธิเป็นการฝึกฝนพัฒนาด้านจิตใจ และปัญญาเป็นการพัฒนาปัญญาใช้นำทางและควบคุมพฤติกรรมทั้งหมด ส่วนการบริหารทุนมนุษย์ตามหลักอริยสัจ 4 หลักความจริงอันมั่นคง และวิถีทางแห่งปัญญา ซึ่งดำเนินการแก้ปัญหาตามเหตุผล ตามปัจจัยเป็นการแก้ปัญหาต่างๆ ของบุคคลด้วยปัญญาของตัวบุคคลเอง
Article Details
References
กันยารัตน์ จันทร์สว่าง. (2562). “ทุนมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลง: กระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์”, วารสารวิทยาการจัดการ. 6(2): 209-216.
จิรประภา อัครบวร. (2552). คุณค่าคน คุณค่างาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพเตา.
โชคชัย สุเวชวัฒนกูล และกนกกานต์ แก้วนุช. (2555). ทางเลือกทางรอดจากวิกฤตเศรษฐกิจของกิจกรรมทุน มนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กิจกรรมการบริหารและการพัฒนาทุนมนุษย์. การประชุมวิชาการระดับชาติในวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ประจำปี 2555. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ดนัย เทียนพุฒ. (2553). ทุนมนุษย์จัดการให้ดีสู่ดีเลิศ. กรุงเทพฯ: โครงการฮิวแมนแคปปตอล.
นิสดารก เวชยานนท. (2551). มิติให้มในการบริหารทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ: บริษัทกราฟโก ซิสเต็มส จำกัด.
บุญทัน ดอกไธสง. (2551). การจัดการทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพพิมพตะวัน.
บุษกร วัฒนบุตร.(2560). พุทธธรรมในการพัฒนาทุนมนุษย์. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565, จาก http://ojs.mcu.ac.th/index.php/lampang/article/viewFile/1413/1193
ประไพทิพย์ ลือพงษ์. (2555). “การพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีสมรรถนะความสามารถในการแข่งขัน”, วารสารนักบริหาร. 12(1): 103-108.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). สู่การศึกษาแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). การพัฒนาที่ยั่งยืน, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ: สหธรรมิก. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ภาวดี สีตนไชย และ กัมปนาท วงษวัฒนพงษ (2564, มกราคม–เมษายน). “พุทธวิธีในการจัดการทุนมนุษย์ในพุทธศาสนา”, วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน. 6 (1).
รติพร ถึงฝั่ง และโกศล จิตวิรัตน์. (2562). “การพัฒนาทุนมนุษย์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงเชิงพลวัต”, วารสารการจัดการสมัยใหม่. 7(2): 27 - 40.
อาภรณ ภูวิทยพันธุ. (2551). กลยุทธการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: เอชอารเซ็นเตอร.