พุทธจริยธรรมกับการสื่อสารทางการเมืองในสังคมไทย

Main Article Content

สุทัศน์ ประทุมแก้ว
พระมหาตะวัน พิมพ์ทอง
พระมหาธงชัย ธรรมทวี

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาพุทธจริยธรรมกับการสื่อสารทางการเมืองในสังคมไทยจากการศึกษาพบว่า หลักการของการสื่อสารทางการเมืองประกอบด้วย การถ่ายทอดข้อมูลและข่าวสารทางการเมืองหรือแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลอันเกี่ยวกับการเมืองโดยตรง ระหว่างสมาชิกในระบบการเมือง ทั้งในแง่ของปัจเจกบุคคล และคณะบุคคลกับรัฐบาล ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการสื่อสารระหว่างสถาบันการเมืองต่าง ๆ เช่น รัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร์ พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ กับประชาชน การสื่อสารระหว่างนักการเมืองกับประชาชน และระหว่างนักการเมืองกับสถาบันทางการเมืองไปยังส่วนอื่น ๆ ของระบบการเมือง ดังนั้น หลักการสื่อสารทางการเมืองในภาวะวิกฤตจึงเป็นที่จะต้องนำเสนอข้อมูลที่ทำให้คู่กรณีหรือคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความไว้วางใจโดยอาศัยวิธีการเต็มไปด้วยความเมตตากรุณา อันจะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมี “สะพาน”หรือมีแนวทางในการหาทางออกสำหรับความขัดแย้งระหว่างคู่กรณี โดยการสื่อสารนั้นจะต้องไม่ดำรงอยู่บนฐานของผลประโยชน์ที่ตนจะพึงได้โดยไม่สนใจความเป็นไปของสังคมแต่ประการใด ด้วยเหตุผลที่มุ่งประโยชน์ส่วนตนในลักษณะดังกล่าวนี้ อาจจะนำไปสู่การสร้างความแตกแยกของคนในสังคมที่รับสาร พุทธจริยธรรมในการสื่อสาร จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญจากหลักคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่ว่าด้วยการสื่อสารในด้านกระบวนการสื่อสาร หลักการพูด การฟังการเลือกเชื่อ การวิเคราะห์บุคคล                  ล้วนเป็นหลักการที่ล้ำลึกที่สร้างสรรค์ให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หลักคำสั่งสอนว่าด้วยการสื่อสารของพระพุทธองค์ยังครอบคลุมถึงหลักจรรยาบรรณ และจริยธรรมของการสื่อสารอีกด้วย สังคมไทยได้นำหลักจริยธรรมการสื่อสารตามแนวพุทธศาสนานี้มาใช้ การสื่อสารทางการเมืองจึงเป็นหลักการสื่อสารที่ช่วยให้บุคคลมีความสุข มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และเป็นหลักการสื่อสารที่ช่วยให้สังคมทุกระดับทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ หรือแม้กระทั้งในระดับสากล คือ สังคมโลกทั้งหมดได้คงไว้ซึ่งสันติสุข ปราศจากอคติ ความแตกแยก ความขัดแย้งได้อย่างแท้จริง

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

พระมหาตะวัน พิมพ์ทอง , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahaculalongkornrajavidyalaya University

พระมหาธงชัย ธรรมทวี, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahaculalongkornrajavidyalaya University

References

กระมล ทองธรรมชาติ. (2540). รัฐธรรมนูญใหม่กับการปฏิรูปการเมือง 15 ปี รัฐศาสตร์ มสธ. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.

ทัศนีย์ เจนวิถีสุข. (2543). “การสื่อสารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2538). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชนี เชยจรรยา. เมตตา วิวัฒนานุกูล. และถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. (2538). แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง จำกัด.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

______. (2539), พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,.

วิทยา ชินบุตร. (2547). สื่อสารทางการเมืองกับบุคลิกภาพประชาธิปไตยของเยาวชนในจังหวัดลพบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะรัฐศาสตร์.

สุวัฒน์ จันทรจำนง. (2540). ความเชื่อของมนุษย์เกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

เสถียร เชยประทับ. (2540). การสื่อสารกับการเมือง : เน้นสังคมประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาวิโรจน์ วิโรจโน (ผาทา). (2554).“การศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องประโยชน์ใน พุทธปรัชญาเถรวาท”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.