การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารการเรียนรู้เชิงพุทธในวิถีใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารการเรียนรู้เชิงพุทธในวิถีใหม่ ใช้การศึกษาเอกสารและนำเสนอเป็นแผนภาพประกอบความเรียง ผลการศึกษา พบว่า 1) การเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การเรียนรู้คำศัพท์ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การเรียนภาษาอังกฤษจากเพลงและภาพยนตร์ และการฝึกภาษาอังกฤษจากเกมส์ 2) การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมีการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 คือฉันทะ ใฝ่รู้ มีใจรักในภาษาอังกฤษ จิตตะ เอาใจจดจ่อในการเรียนภาษาอังกฤษ วิริยะ มีความเพียรพยายามไม่ท้อถอยเมื่อเจออุปสรรค และวิมังสา ใช้ปัญญาวิเคราะห์ ตรวจสอบ แก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องและพัฒนาการเรียนให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องซึ่งจะทำให้เกิดความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษได้ และ 3) การเรียนรู้ภาษาอังกฤษในรูปแบบวิถีใหม่หรือ New Normal ทางการเรียนรู้ที่เป็นความปรกติใหม่ มีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีช่องทางและพื้นที่ของการเรียนรู้ที่หลากหลายมากขึ้น ใช้ศักยภาพในการเรียนรู้ของตนเองได้มากขึ้นภายใต้การมีวินัยในตนเอง ทำให้ผู้เรียนต้องเรียนรู้และปรับตัวให้สอดคล้องกับความเป็นวิถีใหม่
Article Details
References
จินตนา วีระปรียากูร และเผชิญ กิจระการ. (2562). การพัฒนาโมเดลสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ และทักษะการทำงานร่วมกันของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารราชพฤกษ์. ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2562): 43-55.
ทัศนีย์ จันติยะ และวิสาข์ จัติวัตร์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่เน้นภาระงานและแนวทางการเรียนรู้ภาษาเพื่อความรู้ความเข้าใจทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิชาการ และกลยุทธ์การเรียนรู้สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. Vol. 10 No. 1 (2018): January-June 2018, 160-173.
พชร สายเพชร. (2562). การสอนภาษาอังกฤษจากภาพยนตร์.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นราวุฒิ วิวิธธนากรและ ศรีสมร พุ่มสะอาด. (2563). การศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563): 1-12.
นิภาวรรณ นวาวัตน์ และณัฎฐนา ลีฬหรัตนรักษ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบเน้น ภาระงานร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2563: 593-608.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกแปลฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การประเมินการเรียนรู้ใน New Normal. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). New normal ทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สรณบดินทร์ ประสารทรัพย์ และบำรุง โตรัตน์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ และทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร. วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา: 69-81. http://journalgrad.ssru.ac.th/ index.php/issue14/article/view/1566/1447.
เศรษฐวิทย์. (2555). อ่านภาษาอังกฤษอย่างไรให้ได้ผล (How to Overcome Reading Obstacles). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เม็ดทราย.
อภิญญา จิตมโนวรรณ. (2563). รูปแบบการสร้างเสริมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับยุวชนในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย. วารสารคณะมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2563): 53-65.
Morley, J. (2001). Teaching English as a second or foreign language. In M.C. Murcia (3rd ed.). Aural comprehension instruction: principle and practices, pp.69-86. London: Heinle & Heinle, Thomson Learning.