ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค COVID 19

Main Article Content

อำนวย ตามงาม
จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์

บทคัดย่อ

ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกลไกหลักที่สำคัญต่อความสำเร็จในการแก้ปัญหา และเป็นปัจจัยด้านบุคคลที่มีความสำคัญในการสร้างประสิทธิผลขององค์กรทางการศึกษา ดังนั้นการแสวงหาผู้บริหารที่มีความพร้อมทางด้านวุฒิภาวะ คุณลักษณะ ศักยภาพ ความรู้ความสามารถทางด้านศาสตร์และศิลป์ในการบริหารงาน รวมทั้งมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลจึงมีความจำเป็นประการหนึ่ง นอกจากนั้นการสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารที่มีอยู่เดิมให้สามารถปรับปรุงปรับตนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ยึดถือจริยธรรมและความชอบธรรมเป็นที่ตั้ง ดังนั้นการศึกษาถึงแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับลักษณะของภาวะผู้นำจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งสำหรับผู้บริหารงานขององค์กรจะต้องนำเอาไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีภาวะผู้นำ กล้าตัดสินใจ เป็นผู้นำในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ผูบริหารสถานศึกษาตองมุงเนนการใชสื่อการสอนที่ทันสมัย เพื่อใหผูเรียนสามารถเรียนรูไดทุกที่ทุกเวลา โดยนําเทคโนโลยีมาใชควบคูกับการปฏิบัติจริง เพื่อชวยใหผูเรียนสามารถเรียนรูไดครบถวน เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน

Article Details

บท
Articles
Author Biography

จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahaculalongkornrajavidyalaya University

References

กันยา สรรพกิจโกศล. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสู่โลกสากลของผู้บริหารบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออกอาหารของประเทศไทย บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กัมพล ธิติกร. (2551). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้และความคาดหวังของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

เกรียงศักดิ์ วงศ์รัตนะ. (2557). รูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

โชษิตา ศิริมั่น. (2564). ทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2564, จาก http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2564Vol14No1_

pdf

ทวีภรณ์ วรชิน. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นิทัศน์ ศิริโซติรัตน์. (2559). หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนตร์พัฒณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น.(2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด–19. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/243660.

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการแนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มนตรี.

พสุ เดชะรินทร์.( 2564). “ผู้นำที่ต้องการในยุคโควิด ควรเป็นอย่างไร”. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/921804

วิเลิศ ภูริวัชร. (2563). “ทักษะผู้นำ ฝ่า Covid-19 DOs & DON’Ts”. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/880785.

รัตนา กาญจนพันธุ์. (2563). การบริหารสถานศึกษาในสถานการณวิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564, https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/download/248365/168949/.

ราชกิจจานุเบกษา. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Constitution2550.pdf

วิษณุ เครืองาม. (2554). เล่าเรื่องผู้นำ. กรุงเทพฯ : มติชน.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และประยุทธ ชูสอน. (2557). ภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัฒน์: แนวคิดและการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.