จริยธรรมทางธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจบริการอู่ซ่อมรถยนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
จริยธรรมทางธุรกิจ เป็นหลักและมาตรฐานด้านศีลธรรมที่ชี้นำพฤติกรรมในโลกธุรกิจเป็นจริยธรรมที่ประพฤติปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเป็นธรรมและประกอบธุรกิจอย่างมีจิตสำนึก เพื่อให้เป็นเครื่องมือปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์และสวัสดิภาพของมนุษย์ในสังคม มีผู้กล่าวว่า “นักธุรกิจจะมีจิตสำนึกหรือจริยธรรมทางธุรกิจนั้น จะต้องมีอยู่ในจิตใจตั้งแต่ดั้งเดิม ซึ่งมันจะเป็นการยากหากจะกระตุ้นให้นักธุรกิจมีจริยธรรมทางธุรกิจในภายหลัง พื้นฐานของจิตสำนึกจะต้องเริ่มตั้งแต่ต้นของการดำรงชีวิต”ปัญหาจริยธรรมที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากธุรกิจไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่ดีพอเกี่ยวกับหลักจริยธรรมหรืออาจเกิดจากความรู้ความเข้าใจที่ดี แต่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับอย่างเคร่งครัด ปัจจัยเหล่านี้ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาการทำผิดจริยธรรม ดังนั้น การสร้างจริยธรรมทางธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจบริการ 5 ประการ คือ จริยธรรมที่มีต่อลูกค้า จริยธรรมที่มีต่อพนักงาน จริยธรรมที่มีต่อคู่แข่งขัน จริยธรรมที่มีต่อคู่ค้า จริยธรรมที่มีต่อสังคม รวมถึงหลักสังคหวัตถุ 4 ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา โดยองค์รวมในคติที่ว่า “ให้บริการลูกค้า วาจาไพเราะ สงเคราะห์แนะนำ สม่ำเสมอ” อันจะสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอีก อาจเรียกได้ว่า “จริยธรรมทางธุรกิจ”เป็นกลไกหนึ่งในการพลวัตกระบวนการจัดการธุรกิจ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของธุรกิจบริการ อู่ซ่อมรถยนต์ ให้มีความยั่งยืนต่อไป
Article Details
References
ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์ (2536). จริยธรรมในแวดวงธุรกิจไทยและความรับผิดชอบตอสังคม. วารสารสรรพากรสาสน. 40 (3), 45-68.
กุหลาบ รัตนสัจธรรม และคณะ (2546). การศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์ ภาพรวมจรรยา บรรณวิชาชีพในประเทศไทย. ชลบุรี : มหาวทยาลัยบูรพา.
เดรบิต. ธุรกิจการบริการ. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.prosoftpos. com/ ArticleInfo.aspx?ArticleID=5051 ธุรกิจการบริการ.
ผองใส ศุลจรรยารักษ์. (2544). กระบวนการเรียนการสอนวิชาจรรยาบรรณทางธุรกิจ. วารสารทางวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการคา. 21 (1), 1-10.
พิภพ วชังเงิน. (2545). จริยธรรมวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพอมรการพิมพ.
พรนพ พุกกะพันธ์. (2545). จรรยาบรรณทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จามจุรี โปรดักส์.
ยุทธ วรฉัตรธาร (2546). พิชิตธุรกิจอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด.
ราชพฤกษ์ แสงศิริ. (2556). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการอู่ซ่อมรถยนต์ ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. กรุงเทพฯ: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.
ลวน สายยศและอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
วารีญา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม. (2546). จริยธรรมในวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์.
สุภาพร พิศาลบุตร. (2545). จริยธรรมทางธุรกิจ. พิมพครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : วีเจ พริ้นติ้ง.
สมบูรณ ศาลยาชีวิน และคณะ. (2541). จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจของนักธุรกิจในประเทศไทยเปรียบเทียบกับนักธุรกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ไอริณ วณิชย์วรนันต์. (2557). แผนธุรกิจศูนย์บริการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงรถยนต์นอกสถานที่“GO FOR YOU”. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Laura L. Nash. (1900). Good Intentions Aside. Boston : Harvard Business School Press. Millet. J.D. Management in the public service: The quest for effective Performance. New York: Mcgraw-Hill Book Company.