การมีส่วนร่วมของประธานชุมชนตามหลักกัลยาณมิตร ในการบริหารจัดการงานของกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การมีส่วนร่วมของประธานชุมชนตามหลักกัลยาณมิตรในการบริหารจัดการงานของกรุงเทพมหานคร โดยการบริหารจัดการงานด้วยหลักกัลยาณมิตรด้วยขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 สร้างความเชื่อมั่น คือ โดยนำหลักด้านปิโย จฏฺฐาเน นิโยชเย (สร้างความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการงานได้) โดยยึดหลักครองตน ครองคน ครองงาน ขั้นตอนที่ 2 เป็นตัวอย่างให้ดู โดยนำหลักด้านภาวนีโย (เป็นตัวอย่างที่ดีในการบริหารจัดการงาน) คือ การบริหารจัดการงานโดยเป็นตัวอย่างที่ดีในการบริหารจัดการงาน มีการใช้หลักความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตาธรรม เอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ มีความเสมอต้นเสมอปลายในการบริหารจัดการงาน ขั้นตอนที่ 3 เป็นครูให้เห็น โดยนำหลักด้าน วตฺตา จ (ชี้แจงปัญหาการบริหารจัดการงานอย่างชัดเจน) หลักด้านคมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา (ชี้แจงปัญหาการบริหารจัดการงานที่ยากได้) การบริหารงานด้วยใจรักและเคารพในหน้าที่ของตนเอง ขั้นตอนที่ 4 แก้ปัญหาด้วยใจรัก โดยนำหลักด้านวจนกฺขโม (มีจิตใจหนักแน่นในการบริหารจัดการงาน) กล่าวคือการบริหารจัดการงานในบางครั้งก็มีปัญหาก็แก้ไขและนำคำวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนมาแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุก
Article Details
References
คู่มือปฏิบัติงาน กำนัน ประธานชุมชน. (2557). สำนักบริหารการปกครองท้องที่กรมการ
ปกครอง. โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน : กรมการปกครอง .
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้ง
ที่ 34. นนทบุรี: เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์
______. (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่16. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิกจำกัด.
เลขาธิการสภาการศึกษา.สำนักงาน. (2551).แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559) : ฉบับ
ปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สมนึก คําใจหนัก. (2552).“ภาวะผู้นําของกํานันผู้ใหญ่บ้านอําเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ต่อการเสริมสร้างเศรษฐกิจพอเพียง”. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.