การแก้ปัญหาการบริหารตามแนวทางพุทธธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การแก้ปัญหาการบริหารตามแนวทางพุทธธรรมนั้นในเบื้องต้นต้องศึกษาที่เป้าหมายสำคัญของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับมนุษย์คือการฝึกอบรมมนุษย์การขัดเกลาสัญชาตญาณแห่งความเป็นสัตว์ที่ยังอยู่ในตัวมนุษย์ ซึ่งสัญชาติญาณดังกล่าวเป็นแรงขับภายในที่ทำให้เกิดปัญหาสังคม โดยควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ให้ไปละเมิดสิทธิ์อันชอบธรรมของผู้อื่น เช่น บางคนอาจเห็นว่าประโยชน์ที่ตนจะได้รับนั้นไปกระทบกระเทือนผู้อื่นหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนก็จะทำ เพราะเขาคำนึงการคอร์รัปชั่น แม้กระทั่งการซื้อเสียงเพื่อให้ตัวเองได้รับเลือกตั้งของผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งในตำแหน่งทางการเมืองในระดับต่างๆ บางคนล้วนเป็นตัวอย่างที่แสดงถึงพฤติกรรมที่เกิดจากการขาดจิตที่สำนึกต่อชีวิตทางสังคม ประเด็นนี้เองที่ทำให้เกิดผู้นำทางสังคมที่คอยทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของสมาชิกในสังคมพร้อมกับกำหนดบรรทัดฐานและระบอบการบริหารและการปกครองตามแนวคิดของพระพุทธศาสนา ปัญหาด้านจริยธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น การละเมิดสิทธิของกันและกัน จะต้องใช้หลักธรรมมาเป็นเครื่องมือในการบริหารและแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้
Article Details
References
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต) (2542). พุทธธรรม, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย,
_______.(2542).การศึกษาเพื่อสันติภาพ, กรุงเทพฯ : สหธรรมมิก.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย, ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
สุรินทร์ การะนนท์และประสิทธิ์ กุลบุญญา. (2543). ความจริงของชีวิต, คณะมนุษย์ศาสตร์และ
สังคมศาสตร์, สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี : วิทยาออฟเซ็ทการพิมพ์,