โลกเชิงปรนัย : มุมมองและท่าทีต่อการรับรู้โลกภายนอก ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท

Main Article Content

นคร จันทราช
สิปป์มงคล ป้องภา
พระอธิการสุภาพร เตชธโร

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีรูปแบบที่หลากหลายและรูปแบบการจัดการเรียนรู้นั้นมีความสำคัญต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ การเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีความชัดเจนเหมาะสมกับผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ซึ่งการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากวิทยาการที่หลากหลายและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียนมีความไวต่อข้อมูลข่าวสารและการเปลี่ยนแปลง ครูผู้สอนบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโลกเชิงปรนัย : มุมมองและท่าทีต่อการรับรู้โลกภายนอกตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทในการศึกษานี้ใช้วิธีการศึกษาและค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องโดย แยกประเภท เรียบเรียง สรุปสาระสำคัญ และวิเคราะห์เนื้อหา โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 6 ส่วน คือ 1)ความหมายของโลกเชิงปรนัย 2) มนุษย์กับโลกภายนอก 3) การรับรู้โลกภายนอก 4) ลักษณะการรับรู้โลกภายนอก 5) การรับรู้โลกภายนอกกับการเกิดทุกข์ และ 6)ท่าทีการปฏิบัติต่อการรับรู้โลกภายนอก ผลการศึกษาพบว่า โลกเชิงปรนัยตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นโลกที่บริสุทธิ์ปราศจากความหมายเป็นเพียงที่รวมตัวของธาตุ 4 อันได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ ที่มนุษย์สามารถรับรู้การมีอยู่ของโลกแห่งสามัญวิสัยโดยอาศัยประสาทสัมผัสผ่านองค์ประกอบ 3 อย่างคือ 1) อายตนะภายนอก 2) อายตน ภายะใน และ 3) วิญญาณ ที่สร้างความสุขและความทุกข์แก่มนุษย์โดยตรง หากมนุษย์รับรู้ไม่ตรงตามความเป็นจริงทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นกลายเป็นความทุกข์ หากมีความรับรู้ตามความเป็นจริงของโลกทำให้รู้เท่าทันโลกตามความเป็นจริงและเอื้อต่อเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเถรวาทคือการพ้นทุกข์

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

สิปป์มงคล ป้องภา , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระอธิการสุภาพร เตชธโร , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

เดือน คำดี . (2550). เอกสารประกอบการสอน วิชา 388511 ปรัชญาตะวันตก. ภาควิชาปรัชญา

และศาสนาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,

วิทย์ วิศทเวทย์. (2547). ปรัชญาทั่วไป มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต. กรุงเทพฯ:

บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ

ราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ. (2554). วิมุตติมรรค. กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์ศยาม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ:

เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, (2530). ปรมัตถโชติกะ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปฎกฉบับภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมราชบัณฑิตยาสถาน. กรุงเทพฯ :อักษรเจริญทัศน์.

ระวี ภาวิไล. (2543). โลกทัศน์ ชีวทัศน์ เปรียบเทียบวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ :

สหธรรมิก.

สุนทร ณ รังษี. (2535). พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.