รูปแบบการจัดการทุนมนุษย์: กรอบแนวคิดของ Leonard Nadler

Main Article Content

พระครูสมุห์ชินวรวัตร ถิรภทฺโท (จุลเจือ)
โยธี จันตะนี
ชาญชัย เพียงแก้ว
ศุภกิจ ภักดีแสน

บทคัดย่อ

“มนุษย์” (Human) จัดว่าเป็น “ทุน” (Capital) ที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนองค์กร เนื่องจากมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวในโลกที่สามารถสร้างสรรค์สิ่งอันเป็นประโยชน์อเนกอนันต์ให้กับองค์การได้ อนึ่ง ประโยชน์ที่มนุษย์สร้างให้กับองค์กรนั้นหาใช่มาจากกำลังกายแต่เพียงอย่างเดียวไม่ สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือกำลังสมองที่มีอยู่ในตัวมนุษย์นั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์ภายในอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันซึ่งถือว่าเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เรียกกันว่า“กระแสโลกาภิวัตน์” การจัดการทุนมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน องค์กรรัฐวิสาหกิจ ต่างล้วนให้ความสำคัญเรื่องการบริหาร “คน”โดยเฉพาะในทัศนะของ Leonard Nadler (ลีโอนาร์ด นาดเลอร์) ที่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ในด้านการฝึกอบรม การศึกษา และการพัฒนามาใช้ในการจัดการ “ทุนมนุษย์”อันเป็นเรื่องที่ทุกองค์กรไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไป

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

โยธี จันตะนี, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

ชาญชัย เพียงแก้ว , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

ศุภกิจ ภักดีแสน, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

ดนัย เทียนพุฒ. (2551). บริหารคนในทศวรรษหน้า. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด,

ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2550). ทุนมนุษย์การกำหนดตัวชี้วัดเพื่อพัฒนา. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2551). มิติใหม่ในการบริหารทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปรัชญา ชุ่มนาเสียว. (2549). “กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มทุนมนุษย์ในองค์กร”. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เมษายน 2549.

ประไพทิพย์ ลือพงษ์. (2557). การพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีสมรรถนะความสามารถในการแข่งขัน. [ออนไลน์] http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/oct_dec_12/pdf/aw 014.pdf. เข้าถึงเมื่อ 25 เม.ย. 2557.

พิพัฒน์ ก้องกิจกุล. (2548). ทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ : ธรรกมลการพิมพ์.

พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : ธรรกมลการพิมพ์.

รัชฎา อสิสนธิสกุล. (2550). “การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่”. ประชาชาติธุรกิจ. 3 ธันวาคม.

สุจิตรา ธนานันท์. (2551). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2550.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2551). ทุนมนุษย์กับการพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง, 2547.

สุพจน์ ทรายแก้ว. (2554). การจัดการรัฐแนวใหม่. พระนครศรีอยุธยา : เทียนวัฒนา.

สุรพงษ์ มาลี. (2549). “ส่องกระจกชะโงกดูเงา: การเทียบเคียงมาตรฐานการบริหารทรัพยากรบุคคล”. วารสารข้าราชการ. ปีที่ 51 ฉบับที่ 1 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2549.

Schultz. T. W.. (1961). “Investment in human capital”. The American Economic Review. Vol.51.

Schultz. T. W.. (1971). “Investment in human capital”. The Role of Education and of Research. Vol.51 New York : The Free Press.