การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียน

Main Article Content

ไกรษร แก้วฝ่าย
จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์

บทคัดย่อ

การพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศนั้น คนถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาโดยเฉพาะโรงเรียนซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภาระหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคม สั่งสอนความรู้ และถ่ายทอดวิทยาการรวมถึงศีลธรรมจรรยาต่างๆ ให้แก่สมาชิกในสังคม ควรมีเป้าหมายชัดเจนในการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชน ให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานทางการศึกษาแห่งชาติและสอดคล้องกับความ ต้องการของชุมชนท้องถิ่นในสังคมและเป็นที่ยอมรับและศรัทธาของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน โดยมีผลมาจากแนวทางการบริหารการจัดการโรงเรียนสู่คุณภาพ คือหลักการบริหารจัดการ วัตถุประสงค์ของโรงเรียน พันธกิจโรงเรียน กลยุทธ์ของโรงเรียน เงื่อนไขของความสำเร็จ คือ การบริหารแบบมีส่วนร่วมและบริหารผลสำเร็จอย่างสมดุล โดยใช้การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานผลิตนักเรียนมีคุณภาพมีผลจากสมรรถนะของผู้บริหารและครูที่สามารถจัดการศึกษาจนเกิดผลผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ผู้เรียนมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถพัฒนาสู่มาตรฐานสากลบนพื้นฐานของความเป็นไทย มีการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและมีความเป็นประชาธิปไตย หลักพุทธธรรมในการบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศ คือ หลักอิทธิบาท 4 เป็น หลักธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศโดยบูรณาการกับหลักสูตร การเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและการวัดผลและประเมินผล

Article Details

บท
Articles
Author Biography

จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พุทธธรรมนำการศึกษาได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺจิตฺโต). (2551). ธรรมในใจของนักบริหารไฮโซ. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, ฉบับ วันที่ 20 มิถุนายน 2551.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2542).“ดัชนีชี้วัด: เครื่องมือของการติดตามประเมินผล”, วารสารเศรษฐกิจ และสังคม. 5(3): 76-89.

นภดล สุวรรณสุนทร. (2555). การบริหารงานตามหลักพระพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2565,จาก http//www.siace.ac.th/index.php?option=com_conten&view=article&id=129

วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2546). “ธรรมะเพื่อการเพิ่มผลผลิต (ตอนที่ 2). Productivity World”, วารสารเพื่อการเพิ่มผลผลิต: 8-9

สถิตย์ รัชปัตย์. (2548). การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการศึกษาเล่าเรียนของนักศึกษาคฤหัสถ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยมหาสารคาม.

Herbert, A. S. (1947). Administrative Behavior. New York: MacMillian.

Harold, D. K. and Cyrill O’ Donell. (1972) Principles of Management: An Analysis of Managerial Functions. New York: McGraw-Hill Book Co.

Hutchinson, J. G. (1976). Organization: Theory and Classical Concepts. New York: McGraw-Hill.

William, O. (1971). Organization and Management. Eaglewood Cliffs: Prentice Hall.