กระบวนการท้องถิ่นภิวัฒน์และคุณค่าทุนทางสังคมเพื่อการจัดการการท่องเที่ยว

Main Article Content

วรดาภา พันธ์ุเพ็ง

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวภายใต้ระบบทุนนิยมได้สรรหาประโยชน์จากทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม วิถีชีวิตโดยการนำมาสร้างให้เป็นสินค้า และกระแสโลกาภิวัตน์นั้นนับเป็นกระบวนการที่ติดตามมาของระบบทุนนิยมซึ่งมีเป้าหมายคือ เพื่อต้องการสร้างกำไรสูงสุด ดังนั้น ความหมายการท่องเที่ยวภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นจึงมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับกระบวนการบริโภคเชิงสัญญะ และกระบวนการแปลงวัฒนธรรมให้เป็นสินค้า หากจะทำการแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงแล้ว ควรเริ่มจากการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เดิมเข้าสู่กระบวนทัศน์ใหม่ โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนมีศักยภาพในการต่อรองและมีสิทธิในการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการเข้าถึงการควบคุมจัดการและเป็นเจ้าของ มากกว่าการมุ่งเน้นที่รายได้และผลกำไรจากจำนวนนักท่องเที่ยว โดยในทางทฤษฏีสิ่งเดียวที่จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือและเป็นอำนาจการต่อรองของชุมชนได้ คือ กระบวนการท้องถิ่นภิวัตน์ มาเป็นพื้นฐานการต่อสู้กับอำนาจของกระแสโลกาภิวัตน์และระบบทุนนิยมแนวใหม่โดยต้องอาศัยแนวคิดทุนทางสังคม เข้ามาร่วมในการศึกษา ทั้งนี้ชุมชนจะต้องเป็นผู้ทำการศึกษาและเฟ้นหาคุณค่าของทุนทางสังคมที่ยังคงมีชีวิตและมีพลังมีศักยภาพซึ่งในกระบวนการหาคุณค่านั้นจะต้องพิจารณามิติทางด้านประวัติศาสตร์ของชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันร่วมด้วย จากนั้นทุนจะถูกขับเคลื่อนโดยใช้แนวทางกระบวนการท้องถิ่นภิวัตน์ ที่สามารถต่อรองและเข้าร่วมกับระบบทุนนิยมแนวใหม่กับโลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
Articles

References

กิตติพร ใจบุญ.(2538). วัฒนธรรมการบริโภค แนวคิดและการวิเคราะห์ .กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรามหาวิทยาลัยเกริก.

นฤมล อุบลทิพย์. (2553). แกนนำชุมชน/อพม : ทุนทางสังคมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน . กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานปลดักระทรวงกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2548). ทุนทางสังคม. กรุงเทพฯ : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.

สิทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร. (2557). การสังเคราะห์ประสบการณ์องค์ความรู้สู่ทฤษฏีการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณา การ กรณีจังหวัดเชียงใหม่. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สิทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร. (2553).การศึกษาเพื่อเตรียมการทางวิชาการสำหรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมน่า อยู่แบบองค์รวมของจังหวัดเชียงใหม่ โดยประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่. สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เสน่ห์ จามริก. (2544). สิทธิมนุษยชน : เกณฑ์คุณค่าและฐานความคิด. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สิทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร .(2555). สัมภาษณ์. วันที่ 20 ตุลาคม 2555.

สิทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร. (2559). แนวคิดว่าด้วย Local “Capital” for Localization. Concept Paper Series 5. เชียงใหม่ : สาขาวิชาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ภาควิชา สังคมศาสตร์กับการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2552). มิติเชิงซ้อนของป่าชุมชน ในฐานะพื้นที่ทางความรู้ในพื้นที่สูงทางภาคเหนือของ ประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 35 (1): 1-15.

เอกรัฐ เลาหทัยวาณิชย์. (2552). ภาพแทนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของ ชุมชน กรณีศึกษา บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Lyda Judson Hanifan. (1920). Social capital. [Online]. Source: http://infed.org/mobi/social-capital/. (21 February 2013).

Putnam, Robert D. (1993). Making Democracy Work. New Jersey: Princeton University

Press.