การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงานและขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 118 คน คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 59 คนและหัวหน้างานแนะแนว จำนวน 59 คน กำหนดขนาดของตัวอย่างตามตารางของ เครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนโดยใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นชั้นในการแบ่งกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คำนวณหาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของ Cronbach มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t และการทดสอบ F ความแตกต่างทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางในการพัฒนาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร คือ (1) ควรไดรับการพัฒนาโดยการฝึกอบรมเป็นระยะๆ รวมทั้งไดรับการส่งเสริมและให้ความรู้ในการใช้เครื่องมือและเทคนิควิธีการใหม่ๆในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา อาชีพและบุคลิกภาพอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การพิจารณาให้ความช่วยเหลือในลำดับต่อไป (2) ควรมีการจัดให้มีโรงเรียนต้นแบบงานแนะแนวอย่างน้อยกลุ่มโรงเรียนละ 1 โรงเรียนเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ผลงาน การจัดบริการด้านเครื่องมือ สื่อต่างๆ ในการแนะแนว (3) ควรไดรับการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาทำหน้าที่เป็นนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (Youth Counselor) (4) ควรให้ความสำคัญกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียน อย่างต่อเนื่อง (5) ควรมีการวิเคราะห์ SWOT เพื่อเป็นการประเมินการดำเนินงาน ซึ่งช่วยให้รู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน มองเห็นโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบต่างๆในการดำเนินงาน
Article Details
References
กมลวรรณ เที่ยงธรรม. (2546). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานแนะแนว ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
______. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: บริษัท สยาม สปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
______.(2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
คฑาวุธ ขันไชย. (2561). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชัชชัย กาหาวงส์. (2560). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานแนะแนวในวิทยาลัย
สารพัดช่างศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ.
เชาวนา อมรส่งเจริญ. (2553). การบริหารงานแนะแนวของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม,
พชรกมล เปียดี. (2558). การบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตอำเภอชัยบาดาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยนครราชสีมา,
พิสิษฐ์ จริยเอกวิทย์, สมศักดิ์ สีดากุลฤทธิ์, และจำนงค์ ศรีมังกร. (2559). การบริหารระบบการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. ฉบับที่ 14 มกราคม - มีนาคม, 2559.
รัตนา เมืองจินดา. (2553). การศึกษาความพึงพอใจของครูแนะแนวที่มีต่อบริหารงานแนะแนวของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาตราด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
วิเชียร จงดี. (2561). การศึกษาสภาพการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรําไพพรรณี.
สมทรง สีสม, สุวรรณา โชติสุกานต์, และอรสา โกศลานันทกุล. (2554). สภาพการดำเนินการแนะแนวของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 5(1): 43-49. มกราคม-เมษายน, 2554.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). แนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนวระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุรางค์ ไชยสงคราม. (2557). การบริหารงานแนะแนวของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อภิษฎา จุลพันธ์. (2550). สภาพการดำเนินงานแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Barron, D. W. (2003). An examination of school counselors’ awareness and implementation of the statewide comprehensive guidance and counseling program model in Alabama. Dissertation Abstracts International, 63(12), 4229.
Joyce, Olufunke Ogunsanmi. (2011). Awareness of teachers on the effectiveness of guidance and counseling services in primary school in Nigeria: Department of Guidance and Counseling, University of Ado Ekiti Nigeria. Retrieved December 18, 2011.
Kunarak, Prakob and group. (2000). Environment Agency’s Study on Education Reform of Education. Nakhon Pathom: Silpakon University.