ชุดหน่วยภาษาที่บกพร่องคุณสมบัติของคำกริยาในภาษาเกาหลีปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ความหมายของคำกริยาที่มีชุดหน่วยภาษาที่บกพร่องคุณสมบัติ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะและหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำกริยาที่มีชุดหน่วยภาษาที่บกพร่องคุณสมบัติ โดยใช้ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ภาษาเกาหลีของสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยโครยอและพจนานุกรมภาษาเกาหลีมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความหมายของคำกริยาที่มีชุดหน่วยภาษาที่บกพร่องคุณสมบัติ คือ คำกริยาที่มีชุดรูปแบบการผันคำมีความผิดปกติ โดยสามารถผันได้กับวิภัตติปัจจัยเพียงไม่กี่คำ ทำให้เกิดช่องว่างในตารางการผันคำ 2) ลักษณะและหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำกริยาที่มีชุดหน่วยภาษาที่บกพร่อง คือ ลักษณะของคำกริยาชนิดนี้สามารถผันร่วมกับวิภ้ตติปัจจัยบางคำ และทำหน้าที่เป็นประโยคย่อยสัมพันธ์ ประโยคย่อยวิเศษณ์ เป็นภาคแสดง หรือใช้เป็นสำนวน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นภาคแสดงในประโยคหลักได้ เช่น “뎅기열은 어린이사망의 주된 원인으로 꼽혔다. (โรคไข้เลือดออกถูกนับว่าเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในเด็ก)” “주되다 (เป็นหลัก)” ผันร่วมกับวิภัตติปัจจัย “-ㄴ (ที่) ”ได้เท่านั้น เป็น “주된” ทำหน้าที่ขยายคำนาม “원인 (สาเหตุ)” ที่ตามมาข้างท้าย ทำหน้าที่เป็นประโยคย่อยสัมพันธ์ เพื่อขยายคำกริยาหลักของประโยคให้มีใจความสมบูรณ์ หากศึกษาและจดจำรูปคำ รูปประโยคที่มีการใช้คำกริยาที่มีชุดหน่วยภาษาบกพร่องคุณสมบัติในภาษาเกาหลีปัจจุบันได้ ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร ออกมาเป็นถ้อยคำที่ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับ
Article Details
References
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป)
ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
Baerman, M. (2010), Defective paradigms : missing forms and that what they
tell us, Oxford University.
고려대학교 민족문화연구원(2022),『고려대 한국어대사전』, 고려대 민족문화연구원.
고려대학교 민족문화연구원 전자인문학센터(2022), 「물결 21 코퍼스」, http://corpus.korea.ac.kr/
국립국어원편(2021), 『표준국어대사전』, 두산동아, https://stdict.korean.go.kr/main/main.do
김종록(2009), 『(외국인을 위한) 표준 한국어 동사 활용사전』, 박이정.
이희자ㆍ이종희(2006), 『한국어 학습용 어미ㆍ조사 사전』, 한국문화사.
강미진(2008),「현대 국어 불완전용언의 활용 양상 연구」, 울산대학교 교육대학원, 석사학위논문.
고영근(1987),「보충법과 불완전계열의 문제」, 『어학연구』 23(서울대), 505-526.
구본관 외(2018), 『한국어 문법 총론 I』, 집문당.
김영욱(1994),「불완전계열에 대한 형태론적 연구」, 『국어학』24, 87-491.
나찬연(2012),『현대 국어 문법의 이해』, 월인.
남기심•고영근(2008),『표준국어문법론』, 탑출판사.
송철의(2009),「곡용과 활용의 불규칙에 대하여」, 『국어 형태ㆍ의미의 탐색』, 역락, 47-70.
이은정(1974),「안옹긑풀이씨(불완전용언)처리에 대한 고찰」, 『한글』153, 한글학회, 575-603.
이익섭(2007),『국어학개설』, 학연사.
정경재(2008),「불완전계열의 변화 방향 고찰」, 『형태론』 10-1, 박이정, 19-38.
최현배(1956),「안갖은 움직씨 “닥다”에 대하여-“닥아”와 “다가”의 변」, 『한글』118, 29-32.
최현배(1977),『우리말본』, 정음사.
최형용(2003),『국어 단어의 형태와 통사-통사적 결합어를 중심으로-』, 태학사.
한송화(1990),「불완전풀이씨에 대한 연구」, 연세대학교 석사학위논문.
한송화(1997),「활용형에 제약이 있는 동사의 사전적 처리」, 『사전편찬학연구』 7, 43-78.
홍윤표(1977),「불구동사에 대하여」, 『이숭녕선생고희기념국어국문학논총』, 탑출판사.
황화상(2013),『현대국어 형태론』, 지식과교양.