ผลการจัดกิจกรรมการเล่าเรื่องประกอบหนังสือเล่มใหญ่ ที่มีต่อความคิดริเริ่มของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

พิชาญ ณ พัทลุง
นนทชนนปภพ ปาลินทร
วิชาญ ไทยแท้
ดวงฤทัย คำพะรัก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดริเริ่มของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่าเรื่องประกอบหนังสือเล่มใหญ่ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่าเรื่องประกอบหนังสือเล่มใหญ่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านอุ่มจาน อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเล่าเรื่องประกอบหนังสือเล่มใหญ่ จำนวน 32 แผน และแบบสังเกตความคิดริเริ่มของเด็กปฐมวัย จำนวน 10 ข้อ มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent Sample) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาความคิดริเริ่มของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่าเรื่องประกอบหนังสือเล่มใหญ่ พบว่า เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านความริเริ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดริเริ่มของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่าเรื่องประกอบหนังสือเล่มใหญ่ พบว่า หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรม เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยด้านความคิดริเริ่มสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

นนทชนนปภพ ปาลินทร, มหาวิทยาลัยราชธานี

Ratchathani University

วิชาญ ไทยแท้ , มหาวิทยาลัยราชธานี

Ratchathani University

ดวงฤทัย คำพะรัก, มหาวิทยาลัยราชธานี

Ratchathani University

References

จันทิมา นิสภาและชลาธิป สมาหิโต. (2560). การใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์ผ่านการเล่า

นิทานไม่จบเรื่องเพื่อพัฒนาความคิดริเริ่มและความคิดละเอียดลออของเด็กปฐมวัย.

วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ที่มา :

http://www.edu journal.ru.ac.th/index.php/

abstractData/viewIndex/2038.ru สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563.

ชลธิชา ชิวปรีชา. (2554). ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมศิลปะด้วยใบตอง.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิภาพร คำโพธิ์. (2558). การใช้หนังสือเล่มใหญ่สองภาษาเพื่อพัฒนาความสามารถทางการอ่านของ

เด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยชียงใหม่.

พัสนีย์ ไตรภู่. (2557). การพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารของเด็กปฐมวัยโดยการจัดทำหนังสือเล่มใหญ่ โรงเรียนอนุบาลสมศกุลนา กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

เพ็ญจันทร์ บุพศิร. (2560). การพัฒนาพฤติกรรมการรู้หนังสือขั้นต้นของเด็กปฐมวัย โดยใช้การจัดกิจกรรมการทำหนังสือเล่มใหญ่ โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม จังหวัดปทุมธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

วนิดา ฉิมมาลี. (2556). การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเล่านิทานด้วยหนังสือเล่มใหญ่เพื่อพัฒนาความมีระเบียบวินัยของเด็กอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพนมดิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

วรเกียรติ ทองไทย. (2553). ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่าเรื่องจากหนังสือภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันราชานุกูล. (2557). การเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านการอ่านในเด็กปฐมวัย (Pre-reading skills). :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สาวิกาพร แสนศึก. (2560). ศึกษาผลการใช้กิจกรรมวาดภาพประกอบการเล่านิทานที่มีต่อพัฒนาการความคิดคล่องแคล่ว ความคิดริเริ่ม และความคิด ละเอียดลออของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). การคิดเชิงสร้างสรรค์ หนังสือเล็กทรอนิกส์. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb13.pdf.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2556). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสำนักงานรับรองมาตรฐาน (สมศ.) รอบที่ 3 (2554-2558) .บทสรุปของผู้บริหาร. โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสามพาดอุ่มจาน อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2.

สุพัฒ สกุลดี. (2561). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับอนุบาล 1 โดยผ่านการเล่านิทาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อ้อมใจ วนาศิริ. (2556). การใช้หนังสือนิทานเล่มใหญ่เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟังและพูดของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Burke, W. Warner. (1994). Organizational development : A process of hearing changing (2nd ed.). Massachusetts : Addison – Wesky.

Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York : McGraw-Hill Book Co.

Torrance, E. P. (1962). Education and the creative potential. Minneapolis: The Lund Press.

_______. (1964). Education and creativity In creativity : Progress and potential. New York: McGraw-Hill.