ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยากับการส่งเสริมการเรียนรู้ในพหุวัฒนธรรม ของจังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยากับการส่งเสริมการเรียนรู้ในพหุวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางพุทธจิตวิทยากับการส่งเสริมการเรียนรู้ในพหุวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางพุทธจิตวิทยากับการส่งเสริมการเรียนรู้ในพหุวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ และ 3) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางพุทธจิตวิทยากับการส่งเสริมการเรียนรู้ในพหุวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ที่พัฒนาขึ้นออกแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed ถ Reseaech) โดยใช้วิธีการเชิงปริมาณเพื่อขยายผลการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งการวิธีการดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ใช้แนวทางวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative approach) ในการศึกษาปัจจัยทางพุทธจิตวิทยากับการส่งเสริมการเรียนรู้ในพหุวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ ระยะที่ 2 ใช้แนวทางวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative approach) ในการพัฒนาพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางพุทธจิตวิทยากับการส่งเสริมการเรียนรู้ในพหุวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ จากนั้นตรวจสอบความตรงของโมเดลปัจจัยทางพุทธจิตวิทยากับการส่งเสริมการเรียนรู้ในพหุวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ที่พัฒนาขึ้นและศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมระหว่างตัวแปรในโมเดล ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยากับการส่งเสริมการเรียนรู้ในพหุนิยมวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ประกอบด้วย 1) ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยา มีตัวประกอบ คือ (1) ทัศนคติเชิงบวก 2) ความรู้พหุนิยมวัฒนธรรม 3) การปฏิบัติตามแนวพหุนิยมวัฒนธรรม 4) ความพอใจตามแนวพหุนิยมวัฒนธรรม 5) ความพยายามตามแนวพหุนิยมวัฒนธรรม 6) ความใส่ใจตามแนวพหุนิยมวัฒนธรรมและ 7) การใช้ปัญญาตามแนวพหุนิยมวัฒนธรรม 2) สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย (1) แหล่งเรียนรู้ (2) บรรยากาศการเรียนรู้ (3) สื่อการเรียนรู้ และ (4) การส่งเสริมสนับสนุน 3) การเรียนรู้ในพหุนิยมวัฒนธรรม ประกอบด้วย (1) รักวัฒนธรรมตนเองไม่รังเกียจวัฒนธรรมผู้อื่น (2) สัมพันธภาพการทำงานร่วมกัน และ (3) ความเสมอภาค
Article Details
References
ศิริวรรณ หะมิงมะ. (2557). “ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในสังคมพหุวัฒนธรรม”.กรุงเทพมหานคร
สุชา จันทน์เอม. (2541). จิตวิทยาทั่วไป ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : โรง
พิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.