การสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อการเลือกใช้สื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

กีฬา หนูยศ
เกศสุดา โภคานิตย์
ปาณิสรา หาดขุนทด

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อการเลือกใช้สื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สื่อสังคมของเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิและเพื่อเสนอแนะการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ความฉลาดทางอารมณ์ของเยาวชนในการเลือกใช้สื่อสังคมออนไลน์ในจังหวัดชัยภูมิ ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน ผู้ปกครอง จำนวน 5 คน เยาวชน จำนวน 30 คน และพระสงฆ์ จำนวน 2 รูป เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม คณะผู้วิจัยได้คัดเลือกโดยการกำหนดแบบเจาะจง การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จำนวน 400 คน เลือกการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็นโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถาม พบว่า 1) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิ พบว่า ความถี่ในการเข้าใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของเยาวชนมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน แต่ละครั้งอยู่ที่ 1-2 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะเป็นที่บ้าน ช่วงเวลาที่เข้าใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด คือ ช่วงเวลา 16.01-20.00 อุปกรณ์ในการเข้าใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือ/สมาร์ตโฟน การเข้าใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่จะใช้ Facebook ความคาดหวังต่อการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก การรับรู้ เรียนรู้ และยอมรับต่อการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และทัศนคติต่อการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของเยาวชนในการเลือกใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความฉลาดทางอารมณ์มากที่สุด คือ ด้านการอดทนอดกลั้น 3) แนวทางการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ความฉลาดทางอารมณ์ของเยาวชนในการเลือกใช้สื่อสังคมออนไลน์ในจังหวัดชัยภูมินั้น ใช้รูปแบบ 3 จ 3 ค ได้แก่ (1) ใส่ใจระดับครอบครัว (2) ใส่ใจระดับโรงเรียน สถาบันการศึกษา (3) ใส่ใจระดับหน่วยงานภาครัฐ (นโยบาย) โดยใช้เทคนิค การเรียนรู้ 3 ค ได้แก่ (1) คลุกคลีกับนักเรียน (2) ค้นคว้าวิจัย (3) คณะทำงานบ้านกับโรงเรียน 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

เกศสุดา โภคานิตย์ , มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Chaiyaphum Rajabhat University

ปาณิสรา หาดขุนทด, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Pibulsongkram Rajabhat University

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2556). ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้อง

ไม่ได้ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

กระทรวงวัฒนธรรม. (2557). คู่มือการขับเคลื่อนงานการสร้างภูมิคุ้มกันของสังคมในมิติ

วัฒนธรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557.

ดวงรัตน โกยกิจเจริญ และสมชาย ไชยโคตร. (2558). ผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคม

ออนไลน์ของนักเรียนในจังหวัดภูเก็ต. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. ปีที่ 11

(ฉบับที่ 1), มกราคม-มิถุนายน, หน้า 157-186.

เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี และอัจฉรา สมแวง. (2558). การศึกษาพฤติกรรมด้านคุณธรรม

จริยธรรมของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ

ชัยภูมิ. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2550). คุณธรรมและจริยธรรมของผูบริหาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ

ชวนพิมพ. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. สำนักคอมพิวเตอร์ ข่าวประชาสัมพันธ์. (ออนไลน์) 2559 (อ้างเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2559). จากhttps://web.nrru.ac.th/blog/computer.

มุสลินท์ โต๊ะกานิ. (2554). ปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรมสัมพันธภาพทางสังคมของวัยรุ่น

ที่ประสบกับสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2554 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

รณวีย์ พาผล. (2556). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ความมั่นคงทางอารมณ์เพื่อการบริโภค

สื่อและข่าวสารอย่างชาญฉลาดของเยาวชนในแขวงนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). คู่มือการขับเคลื่อนงานการสร้างภูมิคุ้มกันของ

สังคมในมิติวัฒนธรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของ

เด็กในการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศิ์ และศศิกาญจน์ ทวิสุวรรณ (2552) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริม

คุณธรรมที่มีประสิทธิภาพ กรณีศึกษากลุ่มเด็ก/ เยาวชนและช้าราชการภาครัฐ. รายงานการวิจัย กรมศาสนากระทรวงวัฒนธรรม.

สุภางค์ จันทวานิช. (2546). การวิเคราะห์ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.