ผลงานรับใช้ท้องถิ่นและสังคมศูนย์ปฏิบัติธรรม และแหล่งเรียนรู้ชุมชน

Main Article Content

ธนาวิทย์ กางการ

บทคัดย่อ

 


            การศึกษาผลงานรับใช้ท้องถิ่นและสังคมศูนย์ปฏิบัติธรรมและแหล่งเรียนรู้ชุมชนครั้งนี้ เพื่อศึกษาการรับใช้สังคม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมดำเนินการ ด้านการบริการวิชาการรับใช้แก่เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น เสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาให้มีจิตสำนึก คุณธรรม จริยธรรม และความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม2) เพื่อส่งเสริมการบริการวิชาการสู่ชุมชนทุกมิติการพัฒนา ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสาธารณสุข และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม3)เพื่อพัฒนางานด้านการให้บริการวิชาการรับใช้สังคม ให้มีคุณภาพ ตลอดจนมีศักยภาพในการดำรงค์ชีวิตอยู่ร่วมกันและพัฒนาสังคมที่ดีได้


            ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้เนื่องจากจังหวัดชัยภูมิ เป็นสังคมเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญกับการปฏิบัติธรรมและแหล่งเรียนรู้ชุมชนมากเป็นพิเศษ กลุ่มคนส่วนใหญ่ที่เข้าวัดปฏิบัติธรรมจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มนักเรียนนักศึกษา สำนักปฏิบัติธรรมแต่ละสถานที่ยังแยกจากกัน ในการประสานงานกันเป็นเครือข่าย ควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชน ให้เกิดกว้างขวางมากขึ้นองค์ความรู้จากการศึกษา “ศูนย์ปฏิบัติธรรม และแหล่งเรียนรู้ชุมชน”องค์ประกอบของแหล่งเรียนรู้ชุมชน ได้ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 จัดเวทีประชาคมชี้ให้เห็นว่าความรู้จะเป็นประโยชน์ นํามาเรียนรู้ และใช้เป็นฐานในการตัดสินใจนอกจากนี้ยังต้องพัฒนาหาความรู้ใหม่ที่ทันกับสถานการณ์รอบด้าน ความรู้ที่มีอยู่ในศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพียงพอต่อการพัฒนาอาชีพ การแก้ปัญหาของครอบครัว และชุมชนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยศึกษาการวิจัยชุมชน ขั้นตอนที่ 2 จัดกิจกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ของชุมชนในรูปการวิจัยการพัฒนากิจกรรมชุมชน มีการจดบันทึกเป็นความรู้หรือการรับความรู้จากวิทยากรภายนอกชุมชน  3 วางแผนเพิ่มค่าองค์ความรู้ของชุมชน (วางแผนธุรกิจของศูนย์เรียนรู้ชุมชน) ความรู้ชุดใดของชุมชนเป็นที่ต้องการของคนนอกชุมชนจะนํามาเพิ่มค่าให้เป็นสินค้าของชุมชนได้ฝึกอบรมโดยเรียกเก็บค่าลงทะเบียนหรือวิธีอื่นตามความเหมาะสม 4 จัดทําปฏิทินกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้มีกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในส่วนความรู้ภายในชุมชน ควรให้มีวิทยากรของชุมชนกําหนดตารางเวลาที่จะให้ความรู้ไว้ล่วงหน้าและในส่วน ความรู้ที่จะเพิ่มเติมหรือจากภายนอกก็ควรมีการวางแผนอย่างเป็นระบบและมีตารางเวลาชัดเจน รวมทั้งการจัดกิจกรรมฝึกอบรมจากบุคคลภายนอกชุมชนกําหนดเวลาที่แน่นอน รวบรวมทําเป็นปฏิทินกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชน ประกาศไว้ในศูนย์เรียนรู้ชุมชนให้ทราบทั่วกัน  5 กําหนดระเบียบการให้บริการบุคคลภายนอกชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีความเป็นส่วนตัวและคนในชุมชนสามารถดํารงชีวิตได้ตามปกติรวมทั้งเพื่อให้การดําเนินธุรกิจของศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  กําหนดระเบียบการให้บริการบุคคลภายนอกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ว่าจะเปิดบริการการเรียนรู้สําหรับบุคคลภายนอกชุมชนในวันใดการขอเข้าอบรมหรือมาศึกษาดูงาน   ผู้มาอบรมหรือมาศึกษาดูงานจะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไรในหมู่บ้าน 6 เชื่อมโยงเครือข่ายกับศูนย์เรียนรู้ชุมชนอื่นพัฒนาการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ กรรมการบริหารศูนย์เรียนรู้ชุมชนในระดับตําบลหรือพัฒนาการอําเภอจัดในระดับอําเภอ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหมู่บ้านซึ่งจะก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือและแลกเปลี่ยนทรัพยากรในการพัฒนาการดําเนินงานศูนย์เรียนรู้ได้ต่อไป


            สมรรถนะที่เกิดกับนักศึกษา การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใน การพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ ความสามารถในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร การออกแบบการเรียนรู้อย่างสอดคล้องและเป็นระบบ จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญกับชุมชน  การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน  วางแผนและดำเนินการตามหลักการและทฤษฎี โดยใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์อย่างมีเหตุผล จัดกิจกรรมเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างสร้างสรรค์   ประสานกับชุมชนได้เป็นอย่างดี ทำงานเป็นทีมร่วมกันโดยการจัดการแบบมีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี  บริการวิชาการแก่ชุมชนและผู้มีส่วนร่วมและร่วมใช้แหล่งเรียนรู้ชุมชนอัจฉริยะต่อไป  ผู้เรียนได้เพลิดเพลินกับกิจกรรมเชิงบูรณาการที่หลากหลาย ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง พร้อมกับมิติทางสังคม นักศึกษามีจิตสาธารณะต่อชุมชนเป็นเสมือนการวางรากฐานการดำรงชีวิตชุมชน

Article Details

บท
Articles

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552).การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ. กรุงเทพมหานคร :

บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ธนาวิทย์ กางการ.(2565). “ศูนย์ปฏิบัติธรรมตามวิถีพุทธ”.รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏ ชัยภูมิ.

บรรยงค์ โตจินดา.(2545).องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร :

รวมสาสน์.ประกอบ กรรณสูตร. (2542).สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร : สุทธาการพิมพ์.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต).(2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร :

โรงพิมพ์มหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).(2538). ธรรมนูญชีวิต.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล).(2549). การบริหารวัด. นครปฐม :

เพชรเกษมการพิมพ์.

พะยอม วงศ์สารศรี.(2542).องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : พรานนกการพิมพ์.

พัชสิรี ชมพูคำ.(2555).องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

รัชยา ศาสติยานนท์.(2544).รูปแบบการบริหารจัดการที่ดีในมหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร :

จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สุรพล สุยะพรหม และคณะ.(2555).ทฤษฎีองค์การและการจัดการเชิงพุทธ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เฉลิมเกียรติ สงาศรี. (2549).“การพัฒนาบุคลากรครูด้านการจัดการเรียนรูที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญแบบบูรณาการโรงเรียนบ้านแกนทราย ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1”.รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดวงกมล ทองคณารักษ์.(2553). “รูปแบบโครงการปฏิบัติธรรมที่เหมาะสมสำหรับชาว

ต่างประเทศในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา พระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิจิตรธรรมวิภัช (บุญเลิศ หงษา/ปัญาวุโธ).(2561).การพัฒนาการส่งเสริมการปฏิบัติ ธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร ดุษฎีบัณฑิต:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.