การบริหารจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงพุทธของชุมชน วัดพระธาตุเรืองรอง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภูมิหลังความเป็นมาสภาพการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงพุทธของชุมชนวัดพระธาตุเรืองรอง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ (2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงพุทธของชุมชนวัดพระธาตุเรืองรอง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัด ศรีสะเกษ (3) เพื่อเสนอแนะการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงพุทธของชุมชนวัดพระธาตุเรืองรอง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยศึกษาจากกลุ่มประชากรตัวอย่าง 20 รูป/คน ที่มาจากกลุ่มของพระสงฆ์ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และกลุ่มของครอบครัว จากการศึกษาพบว่า การบริหารจัดการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงพุทธของชุมชนวัดพระธาตุเรืองรอง เป็นการบริหารจัดการที่มีชุมชนคอยผลักดันเพื่อชุมชน อาจใช้รูปแบบของวิสาหกิจชุมชนสร้างสรรค์งานออกมาให้วัดพระธาตุเรืองรองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีการส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ มุ่งเน้นการพัฒนาโดยการวางแผนรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ให้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการ การฟื้นฟูองค์ความรู้ท้องถิ่นในมิติต่างๆ เช่น องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ องค์ความรู้ด้านทรัพยากรวัฒนธรรม องค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง เป็นฐานในการพัฒนาต่อยอด เช่น การต่อยอดการศึกษา สร้างกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ หรือจัดทำหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างองค์ความรู้ทางด้านอัตลักษณ์วัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้ตระหนักและเห็นคุณค่าของการบริหารจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในอนาคตต่อไป
Article Details
References
ธนจรส พูนสิทธิ์. (2541). การจัดการองค์การและการบริหาร. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
ธีระรัตน์ กิจจารักษ์. (2542). เอกสารคำสอนวิชาการบริหารการศึกษา. เพชรบูรณ์: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์.
บุญยืน งามเปรี่ยม และคณะ. (2559). “พุทธจริยศาสตร์การดำรงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์สี่เผ่าใน จังหวัดศรีสะเกษ”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธศาสนาในอาเซียน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
พระพงศ์พิสิฐ สุภาจาโร (สุระ). (2561). “บทบาทพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นวัดพระธาตุเรืองรอง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพชรพร โชติวโร (อาษากิจ). (2545). “ศึกษากระบวนการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น : กรณีศึกษาวัดร่องเม็ง จังหวัดเชียงใหม่”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาไพทูรย์ ปนฺตนนฺโท. (2550). การบริหารคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ศรีปทุม.
พระอธิการศิริพงษา ภทฺทปญฺโญ (ธรรมกุล). (2561). “แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรม เชิงพุทธบูรณาการของชาวไททรงดำ ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภัทรพร สิริกาญจน. (2540). หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ : แนวคิดและบทบาทของ พระคำเขียน สุวัณโณ ในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
ศุภมาส เหล็นเรือง และคณะ. (2560). “ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน : กรณีศึกษา อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม”. รายงานการศึกษาเอกสารวิชาการ. สถาบันดำรงราชานุภาพ:กระทรวงมหาดไทย.
สุทัศน์ ประทุมแก้ว. ดร. และคณะ. (2562). “การพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมสัมมาชีพของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในจังหวัดศรีสะเกษ”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_______. (2561). “ศึกษาภูมิปัญญาด้านการผสมผสานความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมของชุมชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อัจฉรี จันทมูล และบุญชู ศรีเวียงยา. (2549). “ลวดลายและการพัฒนาศักยภาพภูมิปัญญาต่อการจัดการผ้าทอพื้นเมืองที่ส่งผลเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งตนเองแก่ชุมชนท้องถิ่น : ศึกษากรณีผ้าลายสร้อยดอกหมากในจังหวัดมหาสารคาม”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัย พุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.