การพัฒนาคู่มืออิเล็กทรอนิกส์หรับการบริหารงานพัสดุในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการคู่มือ 2) เพื่อพัฒนาคู่มือ 3) เพื่อประเมินผลการใช้ ผู้วิจัยใช้การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการคู่มือ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและเจ้าหน้าที่ จำนวน 176 คน โดยใช้แบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาคู่มือ ประเมินความสอดคล้องเชิงเนื้อหาของคู่มือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลการใช้คู่มือ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน โดยใช้ แบบทดสอบ และแบบประเมินความเหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการคู่มือ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการวางแผนกำหนดความต้องการพัสดุมีความต้องการสูงสุด รองลงมาคือด้านการจัดหาพัสดุ ด้านการทำสัญญา การบริหารสัญญา และการตรวจรับพัสดุ ด้านการควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ ด้านส่วนประกอบอื่นๆที่ต้องการให้มีในคู่มือ และด้านสาระสำคัญตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการบริหารพัสดุภาครัฐ 2) ผลการพัฒนาคู่มือ ในการสร้างเนื้อหา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) วัตถุประสงค์ คำชี้แจงในการใช้คู่มือ 2) สาระสำคัญตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการบริหารพัสดุภาครัฐ และกระบวนการบริหารงาน ภาคผนวก ประกอบด้วย เอกสารอ้างอิงและแบบฟอร์มเอกสารในการบริหารพัสดุภาครัฐ ตรวจสอบคู่มือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 ทุกด้าน และ 3) ผลการใช้คู่มือ พบว่า ความรู้ความเข้าใจในการใช้คู่มือมีค่าเฉลี่ยหลังการทดลองใช้สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนทดลองใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านรูปแบบมีระดับความเหมาะสมสูงสุด
Article Details
References
จุฑามาศ โสมกลิ้ง. (2564). การพัฒนาคู่มืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการบริหารงานพัสดุในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.
ฉัตรชัย หมื่นสุข. (2560). การพัฒนาคู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครูโดย ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา เพื่อเสริมสร้างการมีสติ ความมีเหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่2วิทยาลัยสงฆ์นครพนม. .บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ชลธาร สมาธิ. (2560). การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. .บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
ดวงนภา เตปา. (2562). การพัฒนาคู่มือการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านท้าวบุญเรือง อำเภอหางดาว จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ตรรกพจน์ เนาวพันธ์และคนอื่น ๆ. สัมภาษณ์, 1 เมษายน 2564.
นฤมล ฤทธิกาญจน์. (2563). การพัฒนาคู่มือการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี.
ปิยะวรรณ เวชสุวรรณ. (2563). การพัฒนาคู่มือการใช้งานโปรแกรมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริหารของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
มนธิรา จันทฑีโร. (2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง เทคโนโลยีอวกาศ สําหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา น่าน เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
สันติ แสวงทรัพย์. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (2560). ข้อมูลผู้บริหารสถานศึกษา. สืบค้น จากเว็บไซต์ https://www.surat3.go.th วันที่ 22 เมษายน 2564.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ. (2564). โครงสร้างของคู่มือการปฏิบัติงาน. .สืบค้นจากเว็บไซต์ http://personnel.psru.ac.th วันที่ 22 เมษายน 2564.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา2550. สืบค้น จากเว็บไซต์ http://www.nst2.go.th วันที่ 22 เมษายน 2564.