สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) ประเมินความต้องการจำเป็น และ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 382 คน ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ คนโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4 ฉบับ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน 2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษายุคดิจิทัล 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ของแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษายุคดิจิทัล ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษายุคดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับที่มากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษายุคดิจิทัล มีค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ด้านที่มีค่าสูงกว่าค่าโดยรวม มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาและด้านพัฒนาการวัดผล ประเมินผล 3) แนวทางพัฒนาการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษายุคดิจิทัล 3.1) ด้านพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนควรปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรโดยให้ครูนำหลักสูตรมาวางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน และมีการนิเทศกำกับติดตามบริบทการจัดการศึกษาในยุคดิจิทัล 3.2) ด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โรงเรียนควรจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ สนับสนุนการพัฒนาครูผู้สอนให้มีการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี 3.3) ด้านพัฒนาการวัดผล ประเมินผล โรงเรียนควรมีการวัดผลประเมินผลตามบริบทโรงเรียนยุคดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้ที่รอบด้านให้ครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ และความสามารถสำหรับยุคดิจิทัล 3.4) ด้านพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา โรงเรียนควรจัดการเรียนการสอนร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาปรับปรุงสื่อ นวัตกรรมต่างๆ เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน 3.5) ด้านพัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนควรจัดหาแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียนและชุมชน มีการนำเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศมาให้บริการ และผลประเมินแนวทางพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กัญชพร ค้าทอง. (2563). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในยุคไทยแลนด์4.0 ของโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสาร
สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ดุจเดือน ศักดิ์วงศ์. (2564). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียน มาตรฐานสากล ตาม
แนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียน.วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์:มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
นโยบายนายกรัฐมนตรีปฏิรูปการศึกษา. (2559). ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย มั่นคง
มั่งคั่ง ยั่งยืน .กรุงเทพฯ : 21 เซนจูรี่ จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : ศูนย์ สื่อเสริม
กรุงเทพ .
แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555–พ.ศ. 2559 : หน้า 2.
ศิรินทร์ทิพย์ ชาลีวรรณ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารด้านการ ส่งเสริมการใช้
เทคโนโลยี สารสนเทศกับสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้เรียนของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบึงกาฬ . มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : นนทบุรี
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ. (2563). นวัตกรรมการจัดการธุรกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมเพื่อสังคมใน
ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล.วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย.มหาวิทยาลัยเกริก : สำนักพิมพ์ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง).
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 วันที่ 10 เมษายน 2564
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดความรู้ความสามารถ
ทักษะและสมรรถนะสำหรับตำแหน่ง. นนทบรี : พิมพ์ที่ บริษัทประชุมช่าง จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2563 : 24-25). 75ปี สำนักงานเลขาคุรุสภา กรุงเทพฯ: พิมพ์
ที่ บริษัท ออนป้า จำกัด.
อภิญญา รัตนโกเมศ. (2552). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน
ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น : พิมพ์ที่ ม.ป.ท.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital
Era). สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2562. https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-
teaartedu- teaart-teaartdir