แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ หลังจากติดไวรัส Covid-19 ในช่วงการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมดิจิทัล

Main Article Content

บุญชรัสมิ์ ธันย์ธิติธนากุล
สุมาพร ดุภะสกุล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มุ่งศึกษาแบบแผนความรู้ด้านสุขภาพของคนที่อยู่ในช่วงหลังจากติดไวรัสCovid-19 ในภาวะการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมดิจิทัล เพื่อเสนอแนะการปรับตัวและการปฏิบัติตนด้านสุขภาพในช่วงการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมดิจิทัล เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรง รวดเร็ว และส่งผลกระทบทั้งต่อตัวบุคคล, ครอบครัว, เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตลอดวิถีชีวิตของผู้คนในวงกว้างไปทั่วโลก รัฐบาลในแต่ละประเทศรวมถึงประเทศไทยต่างมีมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งหน่วยงานด้านสาธารณสุขต่างพยายามอย่างเต็มความสามารถเพื่อดูแลผู้ป่วยและคิดค้นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การระบาดระลอกแรกในเดือนมกราคม 2563 จนถึงปัจจุบัน ปี 2565 ที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้ไวรัสCovid-19 เป็นเชื้อประจำถิ่น และ ในเดือนตุลาคม ปี 2565 ประเทศไทยได้ประกาศให้ไวรัสโควิด-19 เป็นเชื้อประจำถิ่น โดยมีประชากรทั้งโลกที่เคยได้รับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19   646,301,105 คน, เสียชีวิต  6,643,987 คน และในประเทศไทยประชากรที่เคยได้รับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19  4,711,528 คน,เสียชีวิต  33,285 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 07/12/2022), ดังนั้นประชากรส่วนใหญที่ติดไวรัสโควิด-19 แล้วและยังมีชีวิตอยู่ ต้องดำเนินชีวิตต่อ จึงเป็นประเด็นที่น่าศึกษา ว่าแบบแผนความรู้ด้านสุขภาพของคนกลุ่มนี้จะมีการปรับเปลี่ยนไปอย่างไร และเมื่ออยู่ในสังคมดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตลอดเวลา การดำเนินชีวิตที่ต้องปรับตัวทั้งตนเอง และปรับตัว ในสังคม, สิ่งแวดล้อม, หรือแม้กระทั่งการสื่อสารที่กระชับ ฉับไว เหล่านี้ ล้วนส่งผลทั้งทางตรง และ ทางอ้อม ต่อวิถีการดำเนินชีวิต และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ในทุกๆมิติ การนำข้อมูลทางดิจิทัลมาปรับใช้ในการดำเนินงานทั้งภาครัฐ,ภาคเอกชนและบริการด้านสาธารณสุข รวมถึงการดูแลสุขภาพนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้มีผลที่สำคัญทางด้านประสิทธิภาพของการดูแลสุขภาพ โดยในทางปฏิบัตินั้นจะประกอบด้วยการพัฒนาและนำเทคโนโลยีทางดิจิทัลมาช่วยในการบริการด้านการดูแลสุขภาพ เพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


 

Article Details

บท
Articles
Author Biography

สุมาพร ดุภะสกุล, คณะพยาบาลศาสต์ มหาวิทยาลัยชินวัตร

Faculty of Nursing, Shinawatra University

References

ขันติจิตร, พ. และ คณะ (2564). แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ของประชาชน ในจังหวัดอุบลราชธานี.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี สรรพสิทธิประสงค์.5(2).39-53

ข้อมูลประชากรที่ติด Covid 19

แหล่งที่มา: Our World in Data ;เข้าถึง https://ourworldindata.org/covidvaccinations?country=OWID_WRL https://news.google.com/covid19/map?hl=th&mid=%2Fm%2F02j71&gl=TH&ceid=TH%3Ath

ปวีณา พันตัน, พนิตนาฎ ตะกรุดแกว้ และศศิธร ไชยเพชร (2549). Health belief modelกับdrug adherence ของ ผู้ป่วย Hypertension. [ออนไลน์]

แหล่งที่มา http://mis.lib.nu.ac.th/med_research/detail.php

(11 กุมภาพันธ์ 2557)

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (2560). ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2560 – 2569): eHealth Strategy, Ministry of Public Health (2017 – 2026). กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

Abed, W.H., Abu Shosha, G.M., Oweidat, I.A., Saleh, R.I., Nashwan, A.J., 2022. Jordanian nurses’ attitudes toward using electronic health records during COVID-19 pandemic. Informatics in Medicine Unlocked 34, 101102. https://doi.org/10.1016/j.imu.2022.101102

Bartczak, K.T., Milkowska-Dymanowska, J., Piotrowski, W.J., Wojciechowski, S., Cichocki, M., Walasek, M., & Kaczmarek, J. (2022). The utility of telemedicine in managing patients after COVID-19. Scientific Reports, 12, 21392. https://doi.org/10.1038/s41598-022-25348-2

Baudier, P., Kondrateva, G., Ammi, C., Chang, V., Schiavone, F., Iizuka, M., & Ikeda, T. (2022). Digital transformation of healthcare during the COVID-19 pandemic: Patients’ teleconsultation acceptance and trusting beliefs. Technovation, 98, 102547. https://doi.org/10.1016/j.technovation.2022.102547

Becker, M. H. (1974). The Health Belief Model and personal health behavior. Health Education Monographs, 2, 324–508.

Brahmbhatt, D. H., Ross, H. J., & Moayedi, Y. (2022). Digital Technology Application for Improved Responses to Health Care Challenges: Lessons Learned From COVID-19. The Canadian journal of cardiology, 38(2), 279–291. https://doi.org/10.1016/j.cjca.2021.11.014

Budd, J., Miller, B.S., Manning, E.M., et al. (2020). Digital technologies in the public-health response to COVID-19. Nature Medicine, 26, 1183-1192. https://doi.org/10.1038/s41591-020-1011-4

Bui, L. V., Ha, S. T., Nguyen, H. N., Nguyen, T. T., Nguyen, T. P., Tran, K., Tran, T. V., Nguyen, T. H., Tran, T. H., Pham, N. D., & Bui, H. M. (2021). The Contribution of Digital Health in the Response to Covid-19 in Vietnam. Front. Public Health, 8, 672732. https://doi.org/10.3389/fpubh.2021.672732