ผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง Introduction and Greeting สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง Introduction and Greeting สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของนักเรียนตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอำนาจเจริญ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษจำนวน 5 แบบฝึกทักษะ ประกอบด้วย Greeting (การทักทาย) Introduction (การแนะนำ) Introduction others (การแนะนำผู้อื่นได้) การเติมประโยค Greeting and Introduction ให้สมบูรณ์ และการเรียงประโยค Greeting and Introduction ให้ถูกต้อง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีที่ไม่มีอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.80/82.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 โดยประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียน (E1) ประกอบด้วยทักษะ การฟังเท่ากับ 84.12 ทักษะการพูดเท่ากับ 82.75 ทักษะการอ่านเท่ากับ 84.11 และทักษะการเขียนเท่ากับ 84.23 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง Introduction and Greeting หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.
กระทรวงศึกษาธิการ
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการเรียน
การสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. การศาสนา.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กระทรวงศึกษาธิการ.
ธนพงศ์ ทิพย์ธานี. (2563). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร]. http://dcms.lib.nu.ac.th/dcms/TDC2565/ThanapongThiphathani.pdf.
ธนุพล ธนบัตร. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านห้วยชันที่เรียนโดยแบบฝึกทักษะ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-8-1_1562507002_5914442052.pdf.
อภินันท์ ข่าขันมณี. (2559). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคาศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม].http://202.29.22.172/fulltext/2559/121969/.
อาลัย พะสุนนท์. (2558). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่เนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/439.
Lawrey, E. B. L. (2001). The effect of four skills and practice time until on the
decording performance of student whit specific learning disabilities.