ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองลูกค้า การรับรู้คุณค่าตราสินค้า รูปแบบการดำเนินชีวิต ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อกราโนล่า ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัฐกาญจน์ ทิพย์รักษ์
รสิตา สังข์บุญนาค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองลูกค้า การรับรู้คุณค่าตราสินค้า รูปแบบการดำเนินชีวิต ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อกราโนล่าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองลูกค้า การรับรู้คุณค่าตราสินค้า รูปแบบการดำเนินชีวิต ภาพรวมอยู่ในระดับดี มีพฤติกรรมการซื้อกราโนล่า 3 ครั้ง/เดือน และการรีวิวสินค้าโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นพฤติกรรมการบริโภคของผู้ซื้อมากที่สุด ผลจากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศ ต่างกัน มีพฤติกรรมการซื้อกราโนล่า ในด้านวัตถุประสงค์ที่เลือกซื้อ ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองลูกค้า มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อกราโนล่า ด้านความถี่ในการเลือกซื้อ (ครั้ง/เดือน) การรับรู้คุณค่าตราสินค้า มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อกราโนล่า ด้านวัตถุประสงค์ที่เลือกซื้อ รูปแบบการดำเนินชีวิต มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อกราโนล่า ด้านความถี่ในการเลือกซื้อ (ครั้ง/เดือน) และพฤติกรรมการซื้อกราโนล่า ด้านบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจและด้านวัตถุประสงค์ที่เลือกซื้อ มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กราโนล่าซ้ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ณัฐกาญจน์ ทิพย์รักษ์ , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รสิตา สังข์บุญนาค, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

References

ณฐมน กัสปะ และ ฐิตารีย์ ศิริมงคล. (2564). ส่วนประสมทางการตลาด 4C’s ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (เฟสบุ๊ค) ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 100-114.

ธนาคารไทยพาณิชย์. (2564). Future of Marketing: การตลาดดิจิทัล อาวุธโลกธุรกิจหลังโควิด-19. Retrieved from https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/future-of-marketing.html.

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2555). การสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2562). 4P’s and 4C’s Marketing Model. เข้าถึงโดย https://drpiyanan.com/2019/08/21/4ps-and-4cs-marketing-model/

รจรินทร์ สิมธาราแก้ว. (2550). ทัศนคติและแนวโน้มพฤติกรรมการบบริโภคอาหารจีนในห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครของผู้บริโภค. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: Diamond In

Business World.

สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานคร. (2564). ศูนย์ข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของ

ราชการ. เข้าถึงโดย http://www.oic.go.th/infocenter9/916/

อาลิสา วีระนพรัตน์ และ ณักษ์ กุลิสร์. (2560). รูปแบบการดำเนินชีวิต ทัศนคติและพฤติกรรมการ

บริโภคที่มีต่ออาหารธัญพืชในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 8(1), 93-103.

BLT Bangkok. (2563). เทรนด์สุขภาพมาแรง คนเมืองยุคใหม่ตั้งเป้าชีวิตดีมีสุข. เข้าถึงโดย https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/4405/

Hester, B. (2019). Marketing Strategy: Forget the 4 P’S! What are the 4 C’S? Retrieved from https://catmediatheagency.com/4-ps-of-marketing-strategy/

Igaua, O. A., Kassima, A. W., Al-Swidib, A. K., Haruna, A. B., & Shamsudinc, A. S. (2013). The effect of perceived value on brand loyalty and mediated by customer satisfaction: A case of hand phone user. S. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/266261176

kenton, W. (2021). Activities, Interests, and Opinions (AIO). Retrieved from https://www.investopedia.com/terms/a/activities-interests-and-opinions.asp

Staughton, J. (2021). 9 Surprising Benefits Of Granola. Retrieved from https://www.organicfacts.net/health-benefits/other/granola.html