การพัฒนาแนวทางการประกันคุณภาพภายในสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการประกันคุณภาพภายใน และการพัฒนาแนวทางในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูจากโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำนวน 171 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน และสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .987 และ .983 ตามลำดับ มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การหาค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า 1.) สภาพปัจจุบันการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน 2.) สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3.) การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วย 2 กิจกรมหลัก ได้แก่ 1)การกำหนดมาตรฐาน การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ 2)การกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การติดตามตรวจสอบการประกันคุณภาพภายใน
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินคาและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : แนวทางการจัดทําระบบสารสนเทศสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพราว.
ตระกูล ดีมังกร. (2554). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี, ชลบุรี :มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรีชา ปัญญาพานิช. (2551). การดําเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในกิ่งอําเภอสามร้อยยอด สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ (กศ.ด.). สุพรรณบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
พิทักษ์ ดวงอาสงส์. (2558). สภาพความต้องการและแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เพ็ญพักตร์ บูรณะเสน. (2559). การพัฒนาแนวทางการดําเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รัตนา ซื่อสัตย์. (2559). แนวทางการดําเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ. (2558). รายงานการดําเนินงานการประกันคุณภาพภายในประจําปีการศึกษา 2558. ศรีสะเกษ : สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ.
Abell, A. and N. Oxbrow. (2011). Competing with Knowledge. London : Library Association Publishing.
Pan, Y.J. and E.Y. Hung. (2010). “Evaluation of the Kindergarten Quality Rating System in Beijing,” Early Education and Development. 21(2) : 186-204.
Wong, N.C.M. and H. Li. (2010). “From External Inspection to Self-Evolution : A Study of Quality Assurance in Hong Kong Kindergartens,” Early Education and Development. 21(2) : 205-233.