รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ดลภัช ฤทธิ์เนื่อง
กาญจนา บุญส่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำหนดรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้บริหารฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน  คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) การสนทนากลุ่ม 2) คู่มือการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ และ 3) แบบประเมินผลการบริหารงาน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) คู่มือการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ และ 3) แบบประเมินผลการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีค่าความสอดคล้อง ระหว่าง 0.67–1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กลยุทธ์ 2) โครงสร้าง 3) ระบบ 4) รูปแบบ 5) บุคลากร 6) ทักษะ และ 7) ค่านิยมร่วม โดยรูปแบบมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 2) ผลการประเมินระดับคุณภาพตามองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ สู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 4 รูปแบบการบริหาร (Style) รองลงมาคือ องค์ประกอบที่ 6 ทักษะ (Skills) และองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ องค์ประกอบที่ 2 โครงสร้าง (Structure)

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

กาญจนา บุญส่ง, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Phetchaburi Rajabhat University

References

ทรงพล เจริญคา. (2552). รูปแบบความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เบญจนารถ อมรประสิทธิ์. (2558). รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำ จังหวัด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(3):1-9

ยุวลักษณ์ ส้งหวาน. (2554). การพัฒนารูปแบบกลไกการบริหารจัดการสถาบันการพลศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. บัณฑิตวิทยาลัย :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราตรีศรีไพรวรรณ. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียน มาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาโร เพ็งสวัสดิ์.(2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. 2(4): 1-15

สมกิต บุญโพธิ์.(2555). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมาพร ลี้ภัยรัตน์. (2560). รูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถม ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์.

อร่าม วัฒนะ. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัด. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Eisner, E. (1976, April). Educational Connoisseurship and Criticism: Their Form and Functions in Educational Evaluation. Journal of Aesthetic Evaluation or Education. 10(1): 135 – 150.

Plexico, Clark. (2008). Global Trends Necessitating a World Class Education. Dissertation Abstracts International.