การจัดการกีฬาเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของนิสิต ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัดและความพึงพอใจของนิสิตในการจัดการกีฬา แล้วนำมาเสนอแนวทางในการจัดการกีฬาเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของนิสิตในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการระดมความคิดเห็นจากกลุ่มเฉพาะ (Focus Group) จากบุคลากรกลุ่มงานกีฬาและนันทนาการ จำนวน 5 คน และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามกับนิสิตที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาสารคามจำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เท่ากับ 0.61-0.74 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบที่สำคัญในการจัดการงานกีฬาให้ประสบผลสำเร็จไปพร้อมกัน มี 4 องค์ประกอบ คือ ด้านบุคลากร ด้านการเงินและงบประมาณ ด้านสถานที่วัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกและด้านการจัดการ ความพึงพอใจในการใช้บริการสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยรวมและรายด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด ตัวชี้วัดความพึงพอใจที่มีค่ามากที่สุดสามอันดับแรก คือ ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้บริการสนามกีฬา สถานที่จอดรถมีความสะดวกและเพียงพอ และบรรยากาศของสนามกีฬา ส่วนตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจน้อยที่สุดสามอันดับ คือ การมีที่รองรับขยะเพียงพอและเหมาะสม ปริมาณของอุปกรณ์ออกกำลังกายมีเพียงพอและห้องน้ำสะอาดและเพียงพอต่อจำนวนผู้มาใช้บริการ สรุปผลการวิจัย แนวทางในการจัดการกีฬาเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของนิสิต คือ บุคลากรผู้ให้บริการกลุ่มงานกีฬาและนันทนากรควรมีความรู้และความชำนาญทางด้านกีฬาโดยตรง ประกอบกับมหาวิทยาลัย ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนกลุ่มงานกีฬาให้เพียงพอ ทั้งจากหน่วยงานภายในและผู้สนับสนุนจากภายนอก ในส่วนของสถานที่ออกกำลังกาย ผู้ใช้บริการให้ความคิดเห็นว่าสนามกีฬามีประโยชน์เป็นอย่างมาก ดังนั้น มหาวิทยาลัยต้องจัดหาถังขยะประจำสนามให้เพียงพอและเหมาะสมกับแต่ละสนาม เพิ่มปริมาณของอุปกรณ์ออกกำลังกายให้มีความเพียงพอต่อจำนวนนิสิต และจัดทีมแม่บ้านดูแลความสะอาดของห้องน้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) การสาธารณสุข.
(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2564, จากเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข
: http://www.stopcorruption.moph.go.th
กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2564). แผนยุทธศาสตร์กิจการนิสิต. (ออนไลน์).
สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2565, จาก https://sa.msu.ac.th/
กองทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2564). สถิติจำนวนนักเรียน
(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2565, จาก http://regpr.msu.ac.th/th/
กิตติคุณ แสงนิล, ไพจิตรา ศรีวิเศษ และสุเมธ แก้วแพรก. (2563). การศึกษาองค์ประกอบ
ของความสำเร็จในการดำเนินงานโรงแรมกีฬา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขต
ร่มเกล้า. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 402-420.
ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ. (2564). การสังเคราะห์รูปแบบการจัดการกีฬา: ประสบการณ์จาก
วิทยานิพนธ์ พ.ศ. 2551-2561. วารสารการศึกษา ม.นเรศวร, 23(4), 177-186.
นงนภัส เจริญพานิช และคณะ. (2563). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการให้บริการของกรีฑา
การพัฒนาประสิทธิภาพการกีฬาที่ส่งผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความพึงพอใจและ
ความมุ่งมั่นเพื่อผลตอบแทนที่ยั่งยืน. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ,
(3), 405-417.
นฤนาถ ไกรนรา. (2564). คุณค่าความสามัคคีที่สะท้อนภาพกีฬาในข่าวออนไลน์และแนว
ทางการนำเสนอภาพข่าวกีฬาของสื่อมวลชนไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์,
(1), 70-84.
บงกช จันทร์สุขวงค์. (2564). แนวทางการจัดการโรงเรียนกีฬาสู่ความเป็นเลิศ. วารสาร
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, , 23(1), 424-437.
ปริญ ลักษิตามาศ และคณะ. (2565). การพัฒนาตัวบ่งชี้การสนับสนุนการตลาดกีฬาของ
องค์กรธุรกิจในประเทศไทย. วารสารธรรมศาสตร์, 41(1), 178-200.
สมบูรณ์ พันธุ. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้าน
กีฬาโรงเรียน เทศบาลหนองหญ้าม้า(โรงเรียนกีฬาเทศบาลร้อยเอ็ด).
สิทธิพงษ์ ปานนาค. (2563). การจัดการกีฬาโรงเรียน. วารสารคณะพลศึกษา, 23(2), 1-13.
สุริยัน สมพงษ์ และคมกฤช รัตตะมณ. (2563). การพัฒนาบุคลากรกีฬาบนฐานทักษะ:
กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่สำนักงานใหญ่ของนักกีฬาไทยในการแข่งขันกีฬารายการ
สำคัญ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(3). 392-404.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ร้อยเอ็ด, 10(2), 597-609.
ศศิพิมล พรชลิตกิตติพร และเทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย. (2564). แรงจูงใจในการทำงานเพื่อ
ความสำเร็จของผู้ฝึกสอนส่วนบุคคลที่ศูนย์ฟิตเนสกรุงเทพ. วารสารวิทยาศาสตร์การ
กีฬาและสุขภาพ, 22(3), 370-383.
ศิรินภา เพียรทอง. (2565). แนวทางการพัฒนากีฬาฟันดาบสู่ความเป็นเลิศของชมรมฟันดาบ
ภายใต้สมาคมกีฬาฟันดาบแห่งประเทศไทย.วารสารวิจัยราชภัฏรำไพพรรณี, 16(1),
-45.
Katherine, R. and Emma, S., & Nico S. (2022). Managing Sport for Development: An
Investigation of Tensions and Paradox. Sport Management Review, Taylor
& Francis Journals, 25(1), 134-161
Nico, S., Emma, S., and Katie R. (2021). Sport for Development: An Integrated
Literature Review. Journal of Sport Management, 30(1), 22-39.