กระบวนการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวตามหลักพุทธธรรม เพื่อลดพฤติกรรมการสื่อสารโซเซียลเน็ตเวิร์ค
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวจากการสื่อสารโซเซียลเน็ตเวิร์ค 2) เพื่อสร้างกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวตามหลักพุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมการสื่อสารโซเซียลเน็ตเวิร์ค 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวตามหลักพุทธธรรมเพื่อลดพฤติกรรมการสื่อสารโซเซียลเน็ตเวิร์ค ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวจากการสื่อสารโซเซียลเน็ตเวิร์คพบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการใช้สื่อโซเซียลเน็ตเวิร์ค คือช่วงหลังเลิกเรียน ประเภทสื่อโซเซียลที่ใช้เป็นประจำคือ Facebook ไลน์ Instagram และ google มีวัตถุประสงค์ในการใช้คือเพื่อคุยกับเพื่อน ติดตามข่าวดาราและหาความรู้ทั่วไป โดยมีความถี่ในการใช้ทุกวันและวันละหลายชั่วโมง ค่านิยมที่พบในการใช้สื่อโซเซียลคือเป็นสังคมและนำไปสู่การเกิดแนวคิดใหม่ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน เมื่อใช้สื่อโซเซียลเน็ตเวิร์คหลายชั่วโมง จะทำให้นิ้วชา นิ้วล็อก และเมื่ออินเตอร์เน็ตช้าจะทำให้หงุดหงิด และขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลงจนเกิดปัญหาทั้งด้านครอบครัว การเรียน สังคมและสุขภาพในที่สุด การสร้างกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวตามหลักพุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมการสื่อสารโซเซียลเน็ตเวิร์ค จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ครอบครัวเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญต่อแนวทางการแก้ปัญหา โดยการทำกิจกรรมร่วมกันทั้ง ภายในบ้านและนอกบ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน สร้างกฎการใช้สื่อสังคมโซเซียลเน็ตเวิร์คซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างคนในครอบครัว อาทิเช่น การกำหนดเวลาในการใช้งานเครือข่ายทางสังคมโซเซียลเน็ตเวิร์ค นอกจากนั้น ผู้ปกครองควรเอาใจใส่และให้ความสำคัญกับบุตร โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอบรมสั่งสอนในรูปแบบพ่อแม่ แต่เป็นแบบเพื่อนแนะนำเพื่อน เล่าประสบการณ์ สิ่งที่เป็นผลดีและผลเสียให้บุตรได้เข้าใจและเป็นแบบอย่างที่ดี ในเรื่องการสร้างวินัยให้กับตัวเอง การรู้จักแบ่งเวลาและการนำเวลาที่มีไปพัฒนาความสามารถพิเศษและสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นภูมิคุ้มกันจากครอบครัว ที่จะป้องกันเด็กหรือบุคคลในครอบครัวหมกมุ่นกับการใช้เครือข่ายทางสังคมโซเซียลเน็ตเวิร์คมากจนเกินไป จนเกิดพฤติกรรมผูกพันและความเคยชิน กระตุ้นให้เห็นความสำคัญและความสนใจอยู่ตลอดเวลา จนสภาพจิตใจถูกครอบงำด้วยความผูกพันกับกิจกรรมผ่านเครือข่ายทางสังคมโซเซียลเน็ตเวิร์ค เมื่อถูกรบกวนหรือขัดขวางขณะทำกิจกรรมผ่านเครือข่ายทางสังคมโซเซียลเน็ตเวิร์ค จะเกิดผลกระทบด้านอารมณ์
Article Details
References
ทัศนีย์ เจนวิถีสุข. (2554). การสื่อสารเชิงพุทธกับการเปลี่ยนแปลงสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปัณณธร ชัชวรัตน์ และดลฤดี เพชรขว้าง. (2552).“ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเกมส์ของเยาวชนใน เขตอำเภอเมืองจังหวัดพะเยา”. รายงานวิจัย. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี.
พระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2542). ธรรมกับไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : กองทุนวุฒิธรรมเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). สยามสามไตร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :พิมพ์สวย.
พัทธพีร์ มะลิสุวรรณ. (2550). “กระบวนการสื่อสารในการขัดเกลาทางสังคมของนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า”.บัณฑิตวิทยาลัย :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. เมื่อธรรมคุ้มครองโลกฉบับย่นความ โดยไพโรจน์ อยู่มณเฑียร.กรุงเทพฯ : รุ่งแสง
การพิมพ์ มปป..
ภาณุวัฒน์ กองราช. การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่น กรณีศึกษา Facebook, หน้า 1-3, http://www.citu.tu.ac.th/[15 กุมภาพันธ์ 2557].
วสุพล ตรีโสภากุล. (2558). “การศึกษากระบวนการและปัจจัยเชิงสาเหตุความยึดมั่นผูกพันบน เฟซบุ๊คแฟนเพจในกลุ่มผู้บริโภคไทย”. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อัญชลี เอกศาสตร์. (2554). การแสวงหาข่าวสารการเมืองผ่านเฟซบุ๊กและการมีส่วนร่วมทางการ เมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.