การพัฒนาหัตถกรรมผ้าไหมเชิงพุทธของชุมชนบ้านปะอาว ตำบลปะอาว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

อรุณรัตน์ จำปากุล
สุทัศน์ ประทุมแก้ว
พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์และภูมิปัญญาเชิงพุทธผ่านงานหัตถกรรมผ้าไหมของชุมชนบ้านปะอาว ตำบลปะอาว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ (2) เพื่อศึกษาการพัฒนาหัตถกรรมผ้าไหมเชิงพุทธของชุมชนบ้านปะอาว ตำบลปะอาว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัด  ศรีสะเกษ (3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการพัฒนาหัตถกรรมผ้าไหมเชิงพุทธของชุมชนบ้านปะอาว ตำบลปะอาว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โดยศึกษาจากกลุ่มประชากรตัวอย่าง 15 คน ที่มาจากกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ประธานสภาวัฒนธรรมตำบล และชาวบ้านผู้ทอผ้าไหม จากการศึกษาพบว่า ภูมิปัญญาในการทอผ้าไหมบ้านปะอาว มีวิธีการทอผ้าไหมด้วยภูมิปัญญาที่เกิดจากการย้อมมะเกลือ มีกระบวนการย้อมโดยการใส่พืชที่ให้กลิ่นหอม เช่น ใบเล็บครุฑ ต้นสาบแร้ง สาบกา และว่านหอม เป็นต้น มีการสร้างสรรค์ลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์และรูปแบบการทอผ้าแบบดั้งเดิม ที่มีรูปแบบกรรมวิธีการทอที่สืบสานขนบเดิมของบรรพบุรุษไว้อย่างเคร่งครัด ซึ่งผ้าแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะที่สามารถศึกษาได้จากชื่อ กรรมวิธีการมัด การย้อม การทอ และลวดลาย ลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้าล้วนเป็นสัญลักษณ์ที่ช่างทอผ้ากำหนดขึ้นเพื่อสื่อถึงความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก มุมมอง โลกทัศน์ และความเข้าใจของคนท้องถิ่น ที่ผ่านการหล่อหลอมจากพระพุทธศาสนาด้วยหลักธรรมที่สร้างความรัก ความสามัคคี สร้างขันติบารมี ร่วมกันทำงานด้วยความตั้งใจเพื่อชุมชนและประโยชน์ของชุมชนบ้านปะอาว ให้มีการสืบสานและสืบต่อถึงรุ่นลูกรุ่นหลานในอนาคต


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สุทัศน์ ประทุมแก้ว , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

ดวงเด่น บุญปก. (2562). “อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของผ้าไหมพื้นเมืองกลุ่มเขมรถิ่นไทย”. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2562).

สุทัศน์ ประทุมแก้ว, และคณะ. (2561). “ศึกษาภูมิปัญญาด้านการผสมผสานความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมของชุมชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัย พุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_______.(2562). “การพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมสัมมาชีพของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในจังหวัดศรีสะเกษ”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.

ทวีศักดิ์ สาสงเคราะห์. (2556). “การออกแบบลวดลายผ้าทอแบบร่วมสมัยเพื่อการประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอชุมชนทอผ้าวัดไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม”. รายงานวิจัย. คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร.

บุญช่วย สุทธิรักษ์ และอเนกพงศ์ ธรรมาธิวัฒน์. (2555). การวิจัยเพื่อพัฒนาครูภายในจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วยภูมิปัญญาการทอผ้ามุก. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.

ประการ คุณารักษ์. (2545). “กระบวนการถ่ายทอดความรู้การทอผ้าไหม : กรณีศึกษาบ้านตาหยวก ตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระครูประภัทรสุตธรรม (วีรศักดิ์ ปภสฺสโร). (2560). “การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการทอผ้าไหมของกลุ่มทอผ้าไหม บ้านดูนาหนองไผ่ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอุดมปิฎก และคณะ. (2560). การศึกษาอัตลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอุตรดิตย์. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศักดิ์ชาย สิกขา. (2554). ลายผ้าเอกลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์อุบลกิจออฟเซ็ท.