แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ระดับปฐมวัย ในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

Main Article Content

อภิรดี แสนงาม
สุชาดา บุบผา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก และระยะที่ 2 การหาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลศึกษาพบว่า สภาพการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็กโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพิจารณาเป็นรายด้านและเรียงลำดับดังนี้ ด้านการพัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นอย่างมีความหมาย อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมในกระบวนการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย อยู่ในระดับมาก ด้านการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็กระหว่างสถานศึกษากับพ่อแม่เด็ก อยู่ในระดับมาก ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาด้านการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมาก ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีทักษะชีวิต และสามารถปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นคนดี มีวินัย และมีความสุข อยู่ในระดับมาก 2) สรุปการผลหาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ด้วยวงจรคุณภาพ ดังนี้ ขั้นวางแผน จัดการประชุมเพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่ ขั้นการปฏิบัติ การจัดการเรียนการสอนตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติ ขั้นการตรวจสอบ นิเทศการจัดการเรียนการสอน อย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง ขั้นการปรับปรุง การประชุมก่อนเปิดภาคเรียนมีการนำปัญหา และอุปสรรคในภาคเรียนที่ผ่านมามาปรับปรุงและแก้ไขปัญหาที่เปิดขึ้น และดำเนินการในแผนปฏิบัติการปีปัจจุบัน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

สุชาดา บุบผา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Udon Thani Rajabhat University

References

กมล สิงหราช. (2555). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานตัวบ่งชี้และเกณฑ์การพิจารณาเพื่อการประเมินผลภาพภายนอกในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคิดพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2561). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงโรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

ยศกมล เรืองสง่า, (2551). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดนครพนม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ภารดี อนันต์นาวี. (2555). หลักการ แนวคิด ทฤษฏีทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. ชลบุรี : มนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟค.อมรวิชช นาครทรรพ.ความสำคัญและทิศทางใหม่ๆ ในการจัดการศึกษาของท้องถิ่นเรียกใช้เมื่อ 8 กันยายน 2561 จาก www.kknontat.com/wp.../ppt การจัดการศึกษาของทองถิ่น.ppt.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Beckley, William Loren. (1986). Kindergarten, Option and effect on Student Achievement Primary Elementary Childhood Length of School. Master Thesis. M.Ed. California : Drake University.