สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ จังหวัดนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) ประเมินความต้องการจำเป็น และ 3) พัฒนาแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 115 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบเกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ 2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การประเมินความต้องการจำเป็นของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ ที่มีค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้ ด้านความรู้ และด้านการบริหารจัดการ และ 3) ผลการประเมินแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กนก กนกประดิษฐ์. (2552). การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ประเมินของสถานประกอบการเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สำเร็จการศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ดวงนภา มกรานุรักษ์. (2554). เรื่องพฤติกรรมทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนขาดความมั่นใจว่านักเรียนจะมีความปลอดภัยและได้รับความรู้อย่างแท้จริง. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทศพล จิตอารีรัตน์. (2562).“ปัญหาการบริหารการศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพ
เกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ,”วารสารการเมืองการปกครอง 9(2) : 151 ; พฤษภาคม-สิงหาคม.
“ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561,” (2561).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136. ตอนพิเศษ 228 ง. หน้า 4-6. 18 กันยายน.
ปุณนภา พงษ์สิน. (2562). การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา (พ.ศ. 2560-2579) ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการเพิ่มประสิทธิ ภาพ ระบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก .บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยสยาม.
“พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551,” (2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125. ตอนที่ 43 ก. หน้า 3. 5 มีนาคม.
รวิทย์ ศรีตระกูล. (2556). การพัฒนาแนวการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีวิทยาลัยเทคนิคหนองคาย. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ลือชัย แก้วสุข. (2554). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการ. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิไลรัตน์ เพ็ชรหึง. (2562). การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ ตามแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ.2560-2579 ของสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสยาม.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาอาชีวศึกษา. (2557). การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : บุญศิริการพิมพ์.
สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนครพนม. (2563). ข้อมูลพื้นฐานอาชีวศึกษาจังหวัดนครพนม. นครพนม : วิทยาลัยเทคนิคนครพนม.
สุนุ่น มีเพชร. (2563). “ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร,” วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(3) : 7 ; กันยายน-ธันวาคม.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจําเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Minghat A. and Yasin R. (2010). A sustainable framework for technical and vocational education in malaysia. Procedia Social and Behavioral Sciences. 9, : 1233-1237.Accessed April 1, 2021. Available from www.sciencedirect.com