คุณลักษณะผู้นำแบบไทยของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะผู้นำแบบไทยของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี และ 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำแบบไทยของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี จำแนกตามอายุ ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารและครู จำนวน 258 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้นำแบบไทยของผู้บริหารโรงเรียน มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.977 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะผู้นำแบบไทยของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) คุณลักษณะผู้นำแบบไทยของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี เมื่อจำแนกตามอายุและประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามตำแหน่ง พบว่าไม่แตกต่างกัน
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
เปรม ติณสูลานนท์. (2549). จริยธรมการบริหารภาครัฐ. กรุงเทพฯ: มติชน.
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2549). การศึกษาเพื่อความเป็นไท. กรุงเทพฯ: สถาบันอาศรมศิลป์.
ศรีภูมิ สุขหมั่น. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
สันต์ชัย พูลสวัสดิ์. (2557). ความคิดเห็นของคณาจารย์ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดม ศึกษาเอกชนส่วนกลาง. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 4(3), 7-15.
Start, C. et al. (2003). The Development of emotional competence. New York: Guilford Press.