การอนุรักษ์และเผยแพร่การตีกลองไชยมงคลในรูปแบบของ พ่อครูมานพ ยาระณะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1.เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ลักษณะกลอง โอกาสในการตีกลองไชยมงคล รวมถึงประวัติของพ่อครูมานพ ยาระณะ และผู้มีความรู้ความสามารถในด้านการตีกลองไชยมงคลในรูปแบบของพ่อครูมานพ ยาระณะ 2.เพื่อศึกษาการตีกลองไชยมงคล ทำนองเพลง ท่าฟ้อน ในรูปแบบของพ่อครูมานพ ยาระณะ 3.เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์และเผยแพร่การตีกลองไชยมงคลในรูปแบบของพ่อครูมานพ ยาระณะ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาในรูปแบบสหสาขาวิชาการ โดยการศึกษาจากทั้งภาคเอกสารและภาคสนาม ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสำรวจทางภาพ สังเกตการณ์ จากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยการใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนาแบบกลุ่ม โดยสัมภาษณ์จากกลุ่มผ็ที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์เกี่กับกลองไชยมงคล ในรูปแบบพ่อครูมานพ ยาระณะ เพื่อรวบรวมข้อมูลประวัติความเป็นมา โอกาสในการตีกลองไชยมงคล ลักษณะกลอง ทำนองเพลง ลีลาท่าฟ้อน ชั้นเชิงต่างๆ รวมถึงความเป็นอัตลักษณ์ในรูปแบบของพ่อครูมานพ ยาระณะ ศึกษาความสำคัญของกลองไชยมงคลและวิเคราะห์ปัญหาของการดำเนินการกิจกรรม เพื่อนำเสนอผลการวิจัย การอนุรักษ์และเผยแพร่การตีกลองไชยมงคล ในรูปแบบของพ่อครูมานพ ยาระณะ ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาจึงเห็นความสำคัญของ การอนุรักษ์และเผยแพร่การตีกลองไชยมงคลในรูปแบบของพ่อครูมานพ ยาระณะ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่มีมาแต่โบราณ ทั้งทางด้านประวัติและความเป็นมา บทบาทหน้าที่ของกลองไชยมงคล การถ่ายทอดองค์ความรู้และการฝึกฝน รวมถึงขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการตีกลองไชยมงคล เพื่อให้เป็นแบบแผนในการเรียนรู้ที่ถูกต้องในการตีกลองไชยมงคลในรูปแบบของพ่อครูมานพ ยาระณะ ตั้งแต่เริ่มต้นฝึกหัด การเข้าเพลง การออกเชิง การร่ายรำ ตบมะพาบ จนเป็นศิลปะการตีกลองไชยมงคลในรูปแบบของพ่อครูมานพ ยาระณะ ได้อย่างสมบูรณ์ และการศึกษาครั้งนี้จึงได้มีการรวบรวมองค์ความรู้ของการอนุรักษ์การตีกลองไชยมงคลในรูปแบบของพ่อครูมานพ ยาระณะ ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดแก่ชนรุ่นหลังสืบไป
Article Details
References
จันทร์ แก้วจิโน. (2545). กลองสะบัดชัย. เชียงใหม่ : วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
ชมพูนุท ประศาสน์เศรษฐ. (2547). การอนุรักษ์ศิลปะโบราณวัตถุเบื้องต้น. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
เชาวลิต สัยเจริญ. (2557). การตั้งถิ่นฐานและที่อยู่อาศัยชาวล้านนา. ล้านนาคดีศึกษา :สุเทพการพิมพ์.
ดิษฐ์ โพธิยารมย์. (2551). กระบวนการถ่ายทอดความรู้ด้านการแสดงพื้นบ้าน (กลองไชยมงคล) กรณีศึกษาพ่อครู มานพ ยาระณะ. (ผลงานวิจัยแบบอิสระ โครงการวิจัยศิลปวัฒนธรรม).
วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่.
ดิษฐ์ โพธิยารมย์. (2553). องค์ความรู้ศิลปินแห่งชาติ นายมานพ ยาระณะ. (งานวิจัยอิสระ โครงการวิจัยศิลปวัฒนธรรม). สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
ประภาพรรณ เอี่ยมสุภาษิต. (2550). วิทยาการการจัดการเรียนรู้. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.
พระนคร ปญฺยาวชิโร. (2555). กลองสะบัดชัย : ศิลปะการแสดงล้านนา. เชียงใหม่:แม็กซ์พริ้นติ้ง(มรดกล้านนา).
พระนคร ปรังฤทธิ์. (2553). กลองในพระไตรปิฎกที่ปรากฏในล้านนา. เชียงใหม่:แม็กพริ้นติ้ง (มรดกล้านนา).
มณี พยอมยงค์. (2519). คร่าวพรหมทัต ฉบับวัดดวงดี อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่. คณะศีกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2538). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพ. อักษรเจริญทัศน์.
ลิขิต ลิขิตานนท์. (2534). ศาสนาและความเชื่อ. ใน เอกสารบทความจากการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ล้านนาคดีศึกษา:โลกทัศน์ล้านนา. ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ วิทยาลัยครูเชียงใหม่.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2534). ศิลปหัถตกรรมล้านนา. ใน เอกสารบทความจากการประชุมสัมมนาทางวิชาการล้านนาคดีศึกษา:โลกทัศน์ล้านนา. ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ วิทยาลัยครูเชียงใหม่
วิไลรัตน์ แสงศรี. (2549). จิตวิทยาการสอนวิชาชีพ. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ครองช่าง.
สงวน โชติสุขรัตน์. (2515). ประชุมตำนานพื้นบ้านลานนาไทย. กรุงเทพฯ. โอเดียนสโตร์.
สนั่น ธรรมธิ. (2550). หนังสือชุดล้านนาคดี นาฏดุริยการล้านนา. เชียงใหม่:สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,สุเทพการพิมพ์.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน. (2556). กลองปูจาเมืองน่าน เสียงสวรรค์แห่งนันทบุรี. ชุดความรู้เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. น่าน
สุธิษณา โตธนายานนท์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PRISA เพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการ Verdlan E-Journal. ปีที่ 7(3).
องค์ความรู้กลองชัยยะมงคล พ่อครูมานพ ยาระณะ. เชียงใหม่ : โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา.
อดิสร เมืองเกียง . (2556). การจัดการฟื้นฟูประเพณีการตีกลองปู่จาในพิธรกรมมทางพระพุทธศาสนา ของชุมชนบ้านใหม่ อย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน อำเภอวังเหนือ จัดลำปาง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อาทิตย์ วงศ์สว่าง. (2557). การอนุรักษ์และฟื้นฟูการตีกลองปูจาล้านนาของกลุ่มลายคำในจังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อุษณี ธงไชย. (2557). จากสมัยไพลสโตซีนสู่สมัยอาณาจักรล้านนา. ล้านนาคดีศึกษา. สุเทพการพิมพ์.