ความคาดหวังของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ต่อการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคาดหวังของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ 5 แห่ง ในการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจำปี พ.ศ. 2563 จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความคาดหวังของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ลักษณะของแบบสอบถามเป็นมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ข้อคำถามครอบคลุมทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุน และด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย จำนวน 60 ข้อ แบบสอบถามมีค่า IOC ตั้งแต่ .67-1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) อยู่ระหว่าง .31-.73 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) t-test และ f-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคาดหวังของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงอันดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ด้านบุคลากร ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนและด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย และด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบความคาดหวังของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า เพศ อายุ ตำแหน่ง และประสบการณ์ทำงาน ไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
ฉัตรชัย เสงี่ยมศักดิ์. (2557). สภาพความเป็นจริงและความคาดหวังของชุมชนในการจัดการศึกษา ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ทัศนีย์ กำเนิดสิงห์. (2555). สภาพที่เป็นจริงและความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาเด็ก เทศบาลตาบลเขาชีจรรย์ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
บัณฑิตา แสนประกอบ. (2556). ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดธรรมนิมิตต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญพลอย ขาเงิน. (2558). สภาพปัจจุบันและความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น, สำนัก. (2551). คู่มือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
ปวิชญา ชัยสัตรา. (2559). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง (วัดตรีรัตนาราม) อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประภาพรรณ ไชยวงษ์. (2545). “องค์การบริหารส่วนตำบลกับการจัดการศึกษา,” วารสารครุศาสตร์. 30(3) : 52.
ระพีพรรณ โต๊ะเมือง และสุริยะ เจียมประชานรากร. (2556). ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
วิดารัตน์ เจริญรูป. (2558). ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรม. (2550). กฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.
สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.(2562). รายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามมาตรฐานเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
อมรรัตน์ โพธิ์เจริญ. (2556). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนวัดคู้เกษมสโมรสร (วิชัย-สายประชาสรรค์) สำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา,
UNESCO, B. (2006). Positive discipline in the inclusive, learning-friendly classroom: A guide for teachers and teacher educators. In: UNESCO Asia and Pacific Regional Bureau for Education Bangkok.