การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ ของโรงเรียนในเครือข่ายวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ 2) พัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ ของโรงเรียนในเครือข่ายวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .92 ขั้นที่ 2 พัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ มีค่าความเชื่อมั่น .92 และ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ ของโรงเรียนในเครือข่ายวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการลงมือปฏิบัติ ด้านการประเมินผล ด้านจุดมุ่งหมาย และด้านหลักการ 2) ผลการพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ ของโรงเรียนในเครือข่ายวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 พบว่า รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ มีองค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ ตัวชี้วัด 23 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย (1) กระบวนการ/การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ (2) หลักการ (3) จุดมุ่งหมาย (4) กิจกรรมการเรียนรู้ (5) การลงมือปฏิบัติ (6) การประเมินผล และ (7) เงื่อนไขความสำเร็จ และ 3) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ ของโรงเรียนในเครือข่ายวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก คู่มือการใช้รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้ของรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กระทรวงแรงงาน. (2560). รายงานผลการวิจัยเรื่องแนวโนมอาชีพอิสระในอนาคต 3 ปขางหนา
(พ.ศ.2558 – 2560). [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://lmi.doe.go.th
, เมษายน 10].
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (ม.ป.ป.). มาตรฐานศูนย์การเรียนรู้ชุมชน. กรุงเทพฯ :
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
เกียรติศักดิ์ สังข์ด้วง. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างศักยภาพครูในการ
ส่งเสริมงานอาชีพของนักเรียนและชุมชนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
กัญญาณัฐ ปูนา. (2561). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะ
อาชีพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาพื้นที่พิเศษ จังหวัดเชียงราย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2560, กรกฎาคม – ธันวาคม). การวิจัยพัฒนารูปแบบทางสังคมศาสตร์และ
การศึกษา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 4(2) : 71-102.
นงนุช ชุมภูเทพ. (2562 ; ตุลาคม - ธันวาคม). รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมอาชีพของ
นักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงและทุรกันดาร ในเขตภาคเหนือด้านตะวันตก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(4) : 142-153.
บุญชุม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ราชกิจจานุเบกษา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก 22 กรกฎาคม 2553.
ราเมศร์ สันติบุตร. (2561). พัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจ
พอเพียงของกองบัญชาการกองทัพไทย. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
วรวรรณ เหมชะญาติ. (2561). การจัดประสบการณ์แบบศูนย์การเรียน. [Online]. เข้าถึงได้จาก
http://www.pecerathailand.org/2018/01/670.html. [2564, เมษายน 10].
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (2564). สารสนเทศปีการศึกษา
สุราษฎร์ธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผล
การเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2564). การประกอบอาชีพและการเลือกอาชีพ. [Online]. เข้าถึงได้จาก :
http ://www.supatta.haysamy.com/daily_biz_ch3.html. [2564, เมษายน 5] สุวุฒิ วรวิทย์พินิต. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้ วิถีเมืองเพชรตามแนวทาง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.