การจัดการความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชุมชนงานช่างสิบหมู่เพื่อชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ องค์ประกอบของชุดองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนงานช่างสิบหมู่เพื่อชุมชน 2) เพื่อพัฒนาชุดองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนงานช่างสิบหมู่เพื่อชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้ชุดองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนงานช่างสิบหมู่เพื่อชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้แบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) กลุ่มเป้าหมาย คือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 25 คน เกณฑ์การเลือก คือ มีความสมัครใจร่วมโครงการวิจัย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบศึกษาเอกสาร แบบประเมินประสิทธิภาพ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบแสดงความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบชุดองค์ความรู้ ประกอบด้วย ศึกษาบริบท ระบุองค์ความรู้การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มโดย สร้างองค์ความรู้การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ชุมชน รวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบองค์ความรู้ ปรับปรุงองค์ความรู้การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม ตรวจสอบคุณภาพขององค์ความรู้ 2) พัฒนาชุดองค์ความรู้ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่ใช้องค์ความรู้การจัดการคุณค่าและมูลค่าเพิ่มมีการเรียนรู้ที่หลังเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของคู่มือการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ชุมชน สำหรับวิสาหกิจชุมชน มีค่าเท่ากับ 0.70 ซึ่งหมายถึง สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ70 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกี่ยวกับองค์ความรู้การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ชุมชน สำหรับวิสาหกิจชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.65, SD=0.48)
Article Details
References
กัตติกา ศรีมหาวโร. (2555). การใช้ระบบการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ บริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านสระบัว. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษา.มหาวิทยาลัย รังสิต.
ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). คู่มือจัดทำแผนการจัดการความรู้. กรุงเทพมหานคร. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
กมลวรรณ วรรณธนัง. (2553). ทุนทางสังคมกับการจัดการความรูสูชุมชนพึ่งตนเอง. วิทยานิพนธ ปร.ด. กรุงเทพมหานคร. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.
กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2554). คู่มือทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับผู้ประกอบการ SME "
ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์ที่มีค่ายิ่งสำหรับคุณ" กรุงเทพมหานคร.
ธงชัย พาบุ. (2552). การจัดการความรู้ ธุรกิจสุดยอดหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์.วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปัญญา เมืองรื่น. (2552). การศึกษากระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศึกษากรณี เครือข่ายศูนย์กิจกรรมธรรมชาติจังหวัดระยอง. การค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ชนินทร์ ดอนตุ้มไพร และ วศิน เหลี่ยมปรีชา. (2555). การจัดการความรู้ลูกค้าของ ผู้ประกอบการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 7(2), 38-48.
วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้กับการบริหารราชการไทย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
วิจารณ์ พานิช. (2551). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพมหานคร : บริษัทตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2553). รายงานประจำปี 2553 สภาอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ. (2554). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย. กรุงเทพมหานคร : เอกสาร ประกอบการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม.