การพัฒนาคู่มือในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1

Main Article Content

อทิตยา มีมัสสุ
นัฎจรี เจริญสุข
ชูศักดิ์ เอกเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาความต้องการของครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 2.) พัฒนาคู่มือครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และ 3.) ประเมินผลความพึงพอใจของคู่มือในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1  การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการของครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย  ประชากร ได้แก่ ครูปฐมวัยจำนวน จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาคู่มือครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ประเมินคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสม มีค่าความเชื่อมั่น 0.91  ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความรู้และพึงพอใจของคู่มือในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนปฐมวัย จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจของคู่มือครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1.) ความต้องการของครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการวัดและประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ด้านการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ด้านกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 2.) ผลการพัฒนาคู่มือครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา พบว่า คู่มือประกอบด้วย บทนำ  วัตถุประสงค์          ธรรมชาติของเด็ก 3-6 ปี การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งประกอบไปด้วย กิจกรรม ความหมาย ความสำคัญ เทคนิคต่างๆ และตัวอย่างการจัดกิจกรรม  ผลการประเมินความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินการใช้คู่มือครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา พบว่า คะแนนวัดความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการใช้คู่มือ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้คู่มือในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่  ด้านการนำไปใช้  ด้านการจัดกิจกรรม ด้านเนื้อหา  และด้านกายภาพ


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

นัฎจรี เจริญสุข , มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Suratthani Rajabhat University

ชูศักดิ์ เอกเพชร, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Suratthani Rajabhat University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

(สำหรับเด็กปฐมวัย 3-5 ปี). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กันทิมา เอมประเสริฐ. (2543). การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานในระดับ ประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นุดี รุ่งสว่าง. (2543). การพัฒนาคู่มือการสร้างหลักสูตรระดับโรงเรียนสำหรับครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561).

แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย

รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษา

พิเศษ.กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.