พุทธวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามแบบไตรสิกขา

Main Article Content

พระปลัดสุทธิศักดิ์ สมฺปณฺณเมธี
สมควร นามสีฐาน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ พุทธวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามแบบไตรสิกขา เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มุ้งเน้นการพัฒนาทั้งทางกาย วาจา จิต และปัญญา กล่าวคือ มีระเบียบวินัย จิตใจแน่วแน่ และแก้ปัญหาถูกต้องมี 4 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นสืบค้น (ศีล) สร้างความมีระเบียบวินัย ความมีศรัทธา ความตระหนัก ความเร้าให้เกิดกับผู้เรียนพร้อมที่จะเรียนรู้ 2. ขั้นเชื่อมโยง (สมาธิ) ให้ผู้เรียนรวมพลังจิตใจ ความคิดอันแน่วแน่ในการตั้งใจฟัง ตั้งใจดู ตั้งใจจดจำและเห็นความสำคัญต่อเนื้อหาที่ครูจะนำเสนอ 3. ขั้นฝึก (ปัญญา) ใช้สมาธิ จิตใจอันแน่วแน่ทำความเข้าใจกับปัญหา ค้นหาสาเหตุที่มาที่ไปของปัญหา แก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องและถูกวิธี 4. ขั้นประยุกต์ (ปัญญา) ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้, เกิดปัญญาและมีมโนทัศน์ในเรื่องนั้นๆ ถูกต้อง การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา แต่ละขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ครูมีหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรคอยให้คําแนะนําในทางที่ถูกที่ควรทําใหนักเรียนเกิดองค์เรียนรู้บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ นอกจากนี้พุทธวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามแบบไตรสิกขายังเน้นความสำคัญของการเป็นกัลยาณมิตรและความสำคัญของสังคม สิ่งแวดล้อมที่ช่วยเกื้อหนุนให้เกิดการเรียนรู้


 

Article Details

บท
Articles
Author Biography

สมควร นามสีฐาน, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

อาจารย์ ดร. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

References

คณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา, (2558). หลักสูตรการศึกษา พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ. 2558 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา (วินัย) ระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, โรงพิมพ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), (2547) .โรงเรียนวิถีพุทธ, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุต.โต), (2537).พุทธวิธีแก้ปัญหาเพื่อศตวรรษที่ 21, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สหธรรมิก จำกัด

เสฐียรพงษ์ วรรณปก,(2549) “มัชฌิมาปฏิปทา: สายกลางสองมิติ” ในคอลัมน์ ธรรมะใต้ ธรรมาสน์, หนังสือพิมพ์ข่าวสด, 24 กุมภาพันธ์ 2549.

สุวิทย์ มูลคํา และ อรทัย มูลคํา, (2545) .20 วิธีการจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมและการเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง, กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์

บทความ พุทธวิธีในการสอน, พระนิมิตร กลิ่นดอกแก้ว,(2565). (ออนไลน์) แหล่งที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/300538, วันที่ 26 พฤษภาคม 2565.

บทความ MACRO model : รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21,

ดิเรก วรรณเศียร, (2565). (ออนไลน์) แหล่งที่มา : https://regis.dusit.ac.th/images/news/1421308421_MACRO%20%E 0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%88%2021.pdf, วันที่ 27 พฤษภาคม 2565.