ลักษณาการและบทบาทหน้าที่ “ความชราภาพ”ของพระโพธิสัตว์ ในอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

Main Article Content

พระมหาอวยชัย เชื้อดวงผุย
สมบัติ สมศรีพลอย
ธรรณปพร หงษ์ทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณาการและบทบาทหน้าที่ “ความชราภาพ” ของพระโพธิสัตว์ในอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยใช้กุล่มข้อมูลอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 1 เล่ม 1 - 4 จำนวน 255 เรื่อง ซึ่งค้นพบข้อมูลตรงตามการศึกษาตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาและคัดเลือกไว้จำนวน 5 เรื่อง โดยวิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดของ ฮอลล์ (Hall) เรื่องหลักเกณฑ์ของความเป็นผู้สูงอายุประกอบด้วย 1) การสูงอายุตามวัย 2) การสูงอายุตามสภาพร่างกาย 3) การสูงอายุตามสภาพจิตใจ และ 4) การสูงอายุตามสภาพสังคม ผลการศึกษาพบว่า พระโพธิสัตว์ที่เสวยพระชาติเป็นมนุษย์ชราภาพประกอบด้วย พระราชาชรา, ท้าวสักกะแปลงเพศเป็นคนแก่, และพฤฒาจารย์สอนดีดพิณ ลักษณาการความชราดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงสภาวะความแก่ชราทางชีวภาพร่างกาย ได้แก่ ผมหงอก สรีระร่างกายเสื่อม ความอาวุโสและลักษณาการความชราภาพทางด้านจิตใจ ได้แก่ การถดถ้อย อาการท้อถอย น้อยใจ หดหู่ กรณีพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นสัตว์ชรา ได้แก่ นกกระทาแก่ที่มีความอาวุโสกว่าสัตว์อื่นๆ กับพญานกแขกเต้าแก่ที่มีจักษุทุรพล ส่วนบทบาทลักษณาการความชราภาพของตัวละครพระโพธิสัตว์นั้น ประกอบด้วยบทบาท การสอนธรรมโดยตรงในเรื่องความชรา คุณธรรม ความเคารพ และการสอนคติเตือนภัย บทบาทลักษณาการความชราภาพดังกล่าวมีผลทำให้เรื่องเล่าชาดก โครงเรื่อง ตัวละคร มีความเข้มข้นในการดำเนินเรื่องชวนให้ติดตามและตระหนักสังเวชในลักษณาการความชราภาพอันนำไปสู่ความสังวรในสังขาร ทำให้ผู้อ่านไม่ประมาทต่อการดำเนินชีวิต

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สมบัติ สมศรีพลอย , มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

นักศึกษาปริญญาโท, สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ธรรณปพร หงษ์ทอง, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

นาวาอากาศโท อาจารย์ ดร. สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

References

กณภัทร รื่นภิรมย์. (2561). มุมมองที่มีต่อคนชราในเรื่อง “ท์ซุเระสุเระงุซะ”:ปัญญาอันเกิดจาก

ความชรา.วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา. 8 (2), 1-21.

กุลวดี โรจนไพศาลกิจ และยุวดี รอดจากภัย. (2561). สุขภาวะผูสูงอายุที่อาศัยอยูในเขตเมืองและ

เขตชนบทของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 13(1), 113-125.

เกศนี นุชทองม่วง. (2556). อรรถกถาธรรมบท : การศึกษาในฐานะวรรณกรรมคำสอน.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชมพูนุช พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. บทความวิชาการ,

กลุ่มงานวิจัยและข้อมูลสำนักงานวิชาการ สำนักงานเลขาวุฒิสภา.

นงนุช โรจนเลิศ และสุจิตรา สมพงษ์. (2557). ความสุขของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราใน

จังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลตำรวจ. 6(1), 204-217.

นัฐวุฒิ สิงห์กุล. (2562). จากชราภาพสู่ชราจารย์:การเดินทางของชีวิตและความหมายต่อความ

ชราในกลุ่มผู้สูงอายุไทดำ.วารสารมานุษยวิทยา. 3(1), 124-161.

ปินนเรศ กาศอุดม. (2561). บทบาทครอบครัวในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสถานการณ์

การเปลี่ยนแปลง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 5 (3),

-310.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2556). พุทธวิธีในการสอนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 18).นครปฐม

: พิมพ์สวย.

พัฒน์ เพ็งผลา. (2554). วิเคราะห์การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในนิบาตชาดก. กรุงเทพฯ :

โอเดียนสโตร์.

พิมลพรรณ พิทยานุกุล. (2555). บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. คณะเภสัชศาสตร์,

ภาควิชาเภสัชกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล.

พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ และสุภัค มหาวรากร. (2562). สุนทรียภาพในอรรถกถาเตมิยชาดก.

วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 19 (2),193-205.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2546). พระไตรปิฎกและอรรถกถา แปล ภาค 1 เล่ม 1-4. นครปฐม :

โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

รื่นฤทัย สัจจพันธ์. (2564). นิทานชาดก ฉบับเปรียบเทียบ คัมภีร์มหาวัสตุและอรรถกถา

ชาดก. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.

วิศปัตย์ ชัยช่วย. (2560). ศึกษาเรื่องการใช้LINEของผู้สูงอายุ:การศึกษาเชิงปรากฏการณ์

วิทยา. Veridian E-Journal,Silpakorn University. 10(1), 905-916.

สมิทธิพล เนตรนิมิต. (2559). อรรถกถาธรรมบทในสังคมไทย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 3

(1), 36-50.

สายวรุณ น้อยนิมิต. (2542). อรรถกถาชาดก : การศึกษาในฐานะวรรณคดีคำสอนของไทย

และความสัมพันธ์กับวรรณคดีคำสอน. บัณฑิตวิทยาลัย :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2526). ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและลังกา. กรุงเทพ :

สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำเนียง เลื่อมใส. (2545). ไขความอรรถกถาธรรมบท. วารสารดำรงวิชาการ. (1), 331-338.

อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล. (2565). ชาดกกับวัฒนธรรมวรรณศิลป์ไทย. กรุงเทพ : โครงการ

เผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฤตินันท์ นันทธีโร. (2543). บทบาทของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเขตเทศบาลเมือง

สุรินทร์. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยข่อนแก่น.