การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมความสามารถในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมความสามารถในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมความสามารถในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ที่พัฒนาขึ้นดังนี้ 2.1) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู 2.2) เจตคติของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม 2.3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครูที่ฝึกปฏิบัติการสอน จำนวน 10 คน ครูพี่เลี้ยงของนักศึกษาวิชาชีพครูที่ทำหน้าที่ดูแลนักศึกษาวิชาชีพครูที่ฝึกปฏิบัติการสอน นักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรมฯ แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ แบบวัดความสามารถในการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา และแบบวัดเจตคติสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1.) ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการออกแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา มีองค์ประกอบของหลักสูตร ประกอบด้วย ความเป็นมาของหลักสูตร หลักการของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เนื้อหาและโครงสร้างของหลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมการฝึกอบรม ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม สื่อ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ภาพรวมมีคุณภาพในระดับมาก 2.) ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมความสามารถในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 2.1) ความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครูอยู่ในระดับมาก 2.2) เจตคติของนักศึกษาวิชาชีพครูที่ดีต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก 2.3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กัญภร เอี่ยมพญา. (2561). การพัฒนาวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ : เซนจูรี่.
ธราญา จิตรชญาวณิช. (2560). การศึกษาและความเป็นครูไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
นเรียน นามบุญเรือง. (2555). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เบ็ญจพร ภิรมย์ และสมศักดิ์ ลิลา. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิด วิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะ เกษ เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 1(1), 63-70.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : เทคนิคพริ้นติ้ง.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ.. (2556). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : เทคนิคพริ้นติ้ง.
พีระพรรณ ทองศูนย์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเอพัฒนาหลักสูตรการจัดการ ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานใต้ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้าน การ จัดการเรียนรู้สำหรับครูในภูมิเขตการศึกาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา. ครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนตรี วงษ์สะพาน. (2556). การยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยกระบวนการคิด วิเคราะห์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 13 (2), 125-139.
มารุต พัฒผล. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการ จัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รัตนา ขุนพรหม. (2558). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนศรีอุทุมพร.วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคเหนือ, 7(12), 91-102.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (PISA THAILAND). เข้าถึงได้จาก https://pisathailand.ipst.ac.th
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. เข้าถึงได้จาก https://endb.ipst.ac.th/activity/personnel
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่ง พ.ศ. 2560-2575. กรุงเทพ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุรีรัตน์ พะจุไทย. (2558). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบสอบ 7E ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Davis, L.E. (1997). Enhanceing quality of working lift. New York : MacGraw Hill.