สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 49 คนและครูหรือผู้ดูแลเด็ก จำนวน 103 คน รวมทั้งหมด 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เป็นแบบสอบถามออนไลน์ และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ด้านพื้นฐานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านผู้บริหารจัดทำโดยรวมและและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางและด้านครูนำไปปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาด้านพื้นฐานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย ด้านผู้บริหารจัดทำ โดยรวมและรายด้านมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และด้านครูนำไปปฏิบัติโดยรวมมีปัญหาระดับปานกลาง 2) แนวทางการพัฒนา แบบกึ่งโครงสร้าง ดังนี้ ด้านพื้นฐาน ควรจัดตั้งงบประมาณสำหรับจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ รวมถึง ปรับปรุง แก้ไขอาคารสถานที่ให้มีความพร้อม ด้านผู้บริหาร ควรให้ความสำคัญ ควรมีกำหนดการนิเทศติดตาม เพื่อเห็นสภาพ นำไปสู่การปรับปรุงพัฒนา สร้างขวัญและกำลังใจให้กับครูผู้สอน และด้านครูนำไปปฏิบัติ การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ของครูผู้สอน ควรทำเฉพาะหน่วยการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนไม่ถนัด หรือขาดแคลนครูผู้สอน ควรศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินการ ตามแนวทางของมูลนิธิทางไกลผ่านดาวเทียม และควรเข้าอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องและจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
Article Details
References
กมลพร จารุไชยกุล, บุษกร สุขแสน และธนกฤต ทุริสุทธิ์. (2563). รูปแบบการใช้สื่อเทคโนโลยีในการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี]. THAIJO. https://so04.tcithaijo.org/index.php/JSBA/article/download/244847/167247/85980
กรธรรศ ประศาสน์วนิช. (2564). แนวทางการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกพิษณุโลก เขต 3
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. http://202.29.52.112/dspace/bitstream
/123456789/107/1/63551140102.pdf
จตุพล สอนจิตร และวิเชียร รู้ยืนยง. (2564). แนวทางการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
(NEW DLTV) ของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ขอนแก่นเขต 5. Journal of Roi Kaensarn
Academi, 6(8), 151-163. https://so02.tci- thaijo.org/index.php/JRKSA/article
/view/249540
นันธวัช นุนารถ และภิชาพัชญ์ โหนา. (2563). การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมกับการ
พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก : โอกาสและความเสมอภาคในยุคไทยแลนด์ 4.0. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(1), 289-300. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jgsnsbc- journal/article /download/241891/164385/
บุญโญรส นาคหัสดี. (2559). สภาพและปัญหา ของ eDLTV โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมของ โรงเรียนขนาดเล็กในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs /download/2018_04_10_14_37_03.pdf
ประสาท วันทนะ. (2552). ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในการจัดกิจกรรมการ ศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียน ในเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1806
พัชรินทร์ ไชยบุบผา. (2564). แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ในยุค นิวนอร์มัล. วารสารมหาจุฬาวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 8(3), 177-191. https://so04.tci-thaijo.org/index. php/JMA/article/download/249500 /173639/937809
ไพโรจน์ จำนงผล. (2563). การจัดการเรียนการสอนโดยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ตามหลักพุทธธรรม. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 1(2), 77-91. https:// so03.tci-thaijo.org
/index.php/JOB_EHS/article/download/258791/172532/951903
มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ม.ป.ป.). แนวทางการดำเนินงานจัดการเรียนการสอน โดยใช้การศึกษาทาง ไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ให้ได้มาตรฐาน. (ม.ป.ท.). http://www.utdone.net/data%20utd1/new%20dltv25612018.pdf
ยงยุทธ ยุบุญธง มนต์นภัส มโนการณ์ และชูชีพ พุทธประเสริฐ. (2562), แนวทางการดำเนินงาน
การพัฒนาคุณภาพ การศึกษาด้วยเทคโนโลยีทางไกลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,
(3), 226-241. https://so06.tci- thaijo.org/index.php /edujournal_nu/article
/view/123878
ยอดชาย มานิ่ม. (2559). แนวทางการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. ใน ฐิตินันท์ ด้วงสุวรรณ (บ.ก.), การประชุมสัมมนาวิชาการ. ราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่ 1 (น. 315-327). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
เสาวณีย์ ฉัตรแก้ว. (2557). เนื้อหาและรูปแบบรายการวิทยุที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย (อายุ 3–5 ปี). สุทธิปริทัศน์, 28(87), 60-76. https://so05.tci- thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/download/245169/166711/849298
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. (2561).การตรวจสอบโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ DLIT กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.หนังสือราชการ. 22 มิถุนายน 2561. ที่ ตผ. 0025/1947.
อุทัยวรรณ พุทธรัตน์, ลักขณา คงแสง, จารีย์ พรมบุตรและบุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์. (2556). พฤติกรรมการปรับตัวของเด็กต่อสถานที่ใหม่ของฝ่ายพัฒนาเด็กปฐมวัย. ว.พยาบาลสงขลานครินทร์, 33 (1), 1-16. https://www.nur.psu.ac.th/researchdb
/file_warasarn/1198journal2.pdf