สภาพ ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement :e-GP) ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ชวัลลักษณ์ ลืออำนาจ

摘要

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา และเปรียบเทียบสภาพการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 2) ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 108 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย


ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที t-test และ One-way ANOVAผลการศึกษาพบว่า สภาพการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e -GP) ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบสภาพการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - GP) จำแนกตามสถานภาพและขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ.01 ปัญหาจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานพัสดุมีการปรับเปลี่ยน โยกย้ายอยู่เสมอทำให้ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ระเบียบที่เกี่ยวข้องมีรายละเอียดมากเกินไป ยากต่อการตีความ ระบบ e-GP  มีหลายขั้นตอน และซับซ้อน ประมวลผลช้าและระบบขัดข้อง ด้านอุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์ล้าสมัยไม่เพียงพอต่อการใช้งาน แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ สร้างขวัญกำลังใจ และความเข้าใจให้กับผู้ที่ปฏิบัติงานพัสดุ หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดอบรมให้ความรู้ ด้านระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด โดยสม่ำเสมอ และจัดหาอุปกรณ์ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูงให้เพียงพอ เพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน หน่วยงานผู้รับผิดชอบในการดูแลระบบควรจัดทำระบบหรือโปรแกรมที่ไม่ซับซ้อน ลดขั้นตอนลงเพื่อง่ายต่อการใช้งาน


 

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles

参考

กรมบัญชีกลาง. (2563). ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement :e-GP).สืบค้นจาก http://www.gprocurement.go.th.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ 2564. นครพนม : กลุ่มนโยบายและแผน

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.(2556). คู่มือ e-Government.กรุงเพทฯ:

กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กระทรวงการคลัง. (2560). พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

พ.ศ.2560.กรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก http://www.gprocurement.go.th.

สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติ

การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานพัสดุภาครัฐและวิธีปฏิบัติทางอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ. สำนักวิจัย และบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี

จุไลรัตน์ ผดุงกิจและภานุมาศ ชาติประเสริฐ.(2561). “ปัญหาการปฏิบัติงานในการจัดซื้อ

จัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ของเจ้าหน้าที่พัสดุในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม”. นักวิชาการพัสดุ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กิตติมา ศรีสิงห์. (2561).“การพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี”.รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ณัฐดานันท์ ยอดเมืองชัย. (2561).ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา

นันทพร ลิมปกาญจน์เวช.(2559).“ปัญหาในการใช้งานระบบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement : e-GP) ของเจ้าหน้าที่พัสดุในสำนักงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”,มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

วิไลลักษณ์ จิ้วเส้ง. (2555).“ปัญหาและอุปสรรคการนำระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วย

อิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) มาใช้” : กรณีศึกษากรมประมง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี