ความฉลาดรู้ไอซีที (ICT literacy) ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1

Main Article Content

รัตติพร พิพิธกุล
อำนวย ทองโปร่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความฉลาดรู้ไอซีที (ICT literacy) ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดรู้ไอซีที (ICT literacy) ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 จำแนกระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 278 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน โดยแบ่งกลุ่มตามขนาดของสถานศึกษาและวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากนั้นเทียบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อความฉลาดรู้ไอซีที (ICT literacy) ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .0954 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเป็นรายคู่ด้วยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Multiple Comparison Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับความคิดเห็นของครูที่มีต่อความฉลาดรู้ไอซีที (ICT literacy) ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูที่มีต่อความฉลาดรู้ไอซีที (ICT literacy) ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 พบว่า ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความฉลาดรู้ไอซีที (ICT literacy)ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้าน ทุกด้านแตกต่างกัน ยกเว้นด้านการประเมินข้อมูล (Evaluate) ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

อำนวย ทองโปร่ง, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

กิตติศักดิ์ แสงทอง. (2560) .ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการศึกษาของโรงเรียน มัธยมศึกษา อำเภอบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิตตากานต วังคํา. (2555). การศึกษาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ

ผูบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสังกัด กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

นันธิดา ปฏิวรณ์ และคณะ. (2564). รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์มจร,9,5 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2564)

พัชรินทร์ หยกพิทักษ์โชค. (2561). การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษ ที่21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (ojed) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 13,4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2561)

ภูผาภูมิ โมรีย์ และคณะ(2561). โปรแกรมพัฒนาการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา.วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น,14,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561)

ยูไฮนี บากา (2563). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขต

พื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

เรืองยศ พุทธิกุล. (2563). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดความฉลาดรู้ไอซีที (ICT literacy). คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารการบริหารและนวัตกรรม การศึกษา,3,3 (กันยายน-ธันวาคม 2563)

ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย:

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

สมประสงค์ วงศ์ทันใจ. (2563). แนวทางการพัฒนาการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของ

ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3.

บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยีโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุรีรัตน์ รอดพ้น และคณะ. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสารการบริหาร การศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร,9,35 (เมษายน-มิถุนายน 2564)

สุธน ศรีศักดิ์บางเตย. (2562). แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ใน

โรงเรียนพระแท่นดงรักวิทยาคาร. มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์,4,3 (กันยายน – ธันวาคม 2562)