ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาโดย ใช้การนิเทศแบบสอนแนะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

Main Article Content

รพิรัตน์ เกษมสุข
สุภาวดี ลาภเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้การนิเทศแบบสอนแนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของสถานศึกษา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูในโรงเรียนสังกัดนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 306 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม เรื่อง  ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้การนิเทศแบบ
สอนแนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 48 ข้อ มีค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (Index of Item Objective Congruence : IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.977 ใช้สถิติในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ (Scheffe’s post hoc comparison) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้การนิเทศแบบสอนแนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การนำความคิดไปสู่การปฏิบัติ รองลงมา คือ ความเป็นหุ้นส่วนของการเรียนรู้การให้ทางเลือก ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การสร้างขวัญและกำลังใจ  2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้การนิเทศแบบสอนแนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2  จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของสถานศึกษา คือ 2.1) ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้การนิเทศแบบสอนแนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 2.2) ครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้การนิเทศแบบสอนแนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน 2.3) ครูที่อยู่ขนาดสถานศึกษาที่แตกต่างกัน ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้การนิเทศแบบสอนแนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

สุภาวดี ลาภเจริญ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม

ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : องค์การ.กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ

กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ธารอักษร.เกรียงศักดิ์ เรืองแสง. (2550). ปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี.

บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ในระบรมราชูปถัมภ์.

จุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2559). การนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2559). การบริหารงานวิชาการและการนิเทศภายในสถานศึกษา. นครปฐม :

โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โชคระวี เจียมพุก. (2563). กระบวนการนิเทศของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลนครปฐม.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร

รุ่งศิริ นุ่มศิริ. (2564). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา

สหวิทยาเขตส่งเสริมสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร.

สาขาวิชาบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธารทิพย์ ดำยศ. (2560). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กตามการ รับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

พัชรินทร์ ช่วยศิริ. (2554). การดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยศรีนคริทรรวิโรฒ.

พรรณภา มหาวิชา. (2557). กระบวนการนิเทศของผู้บริหารโรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล

สังกัดกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สงัด อุทรานนทร์. (2530). การนิเทศการศึกษา หลักการทฤษฎีการศึกษา. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์มิตรสยาม.

สายวินิตย์ ดวงสนาม. (2563). การนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทาง

การศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2.

บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์.

สมคิด บางโม. (2544). หลักการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฎ

พระนคร.

โสภณ ลำเภา. (2565). แนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ และ อัจฉรา นิยมาภา. (2566). รูปแบบการนิเทศภายของผู้บริหาร

สถานศึกษาโดยใช้กระบวนการสอนแนะและพี่เลี้ยง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์.

อรทัย วรรณ์ประเสริฐ. (2561). การนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 และ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัด

ฉะเชิงเทรา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา

อภิสรา กังสังข์. (2564). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา

ในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

Blanchard, P. N. and Thacker, J. W. (2004). Effective training: System, strategies

and practices. Upper Saddle River: Pearson Prentice Hall.

Mink, O. G., Owen, K. Q. and Mink, B. P. (1993). Developing high-performance people: The art of coaching. Reading, Massachusetts: Addison – Wesley.