ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

Main Article Content

ญาณี วันแอเลาะห์
อำนวย ทองโปร่ง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และวิทยฐานะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำแนก จำนวน 306 คน โดยการใช้ตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่าง Cohen (Cohen, Manion and Morrison, 2011, p. 147) และวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยแบ่งกลุ่มตามวิทยฐานะ จากนั้นเทียบสัดส่วนของกลุ่มประชากรของแต่ละวิทยฐานะ เพื่อให้ได้มาซึ่งจำนวนกลุ่มตัวอย่างของสถานศึกษาตามวิทยฐานะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที (t-test แบบ Independent) การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's post hoc comparison) ผลการวิจัยปรากฎ ดังนี้  1) ความคิดเห็นข้าราชการครูที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน (= 4.57)  และด้านการมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี (= 4.62)  นอกนั้นอยู่ในระดับมาก  2) ข้าราชการครูที่ระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน 3) ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา แตกต่างกันทั้งภาพรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

อำนวย ทองโปร่ง, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

คมพิศิษฐ์ ศรีบุญเรือง. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารการศึกษา, 11(2), 101-108.

ชวลิต เกิดทิพย์. "ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับผู้บริหารเพื่อการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (2552-2561)." ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 21, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2553): 164-182.

ธนกฤต พราหมน์นก. (2559). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ธิดารัตน์ ประจักษ์. (2560). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

บรรจบ บุญจันทร์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นาเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหาร

สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิคม นาคอ้าย. (2549). องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ภัทรา ธรรมวิทยา. (2558, กรกฎาคม-กันยายน). การศึกษาภาวะผู้นา เชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษาในเขตธนบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา

สุกัญญา แช่มช้อย. การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.

อิทธิฤทธิ์ กลิ่นเดช. (2560)."ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสระบุรี." บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,

American Institute for Research (AIR). (2009). Evaluation of the school technology leadership initiative: External evaluation report #2. Washington, DC: AmericanInstitutes of Research.

Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: The Free.

CASTLE. (2009). Principals Technology Leadership Assessment. Retrieved from http://dangerouslyirrelevant.org/wp-content/uploads/2017/04/PTLA-Packet.pdf.

Kozloski, K. C. (2006). Principal leadership for technology integration: A study of principal technology leadership. Philadelphia: Drexel University.

Yukl, G. (2006). Leadership in organizations. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.