การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูในสังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศิริลักษณ์ พันธ์เพชร
สุภาวดี ลาภเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดกรุงเทพมหานครและ 2) เพื่อเปรียบเทียบ
ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และกลุ่มโรงเรียน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.979 สถิติที่ใช้ศึกษา คือ ค่าความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Multiple Comparison Method) ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านการสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง ด้านการควบคุมอารมณ์ตนเอง ด้านการมีทักษะทางสังคม ด้านการตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง และ ด้านการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น 2) ผลการเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีดังนี้ 2.1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามความคิดเห็นของครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่มีระดับการศึกษาต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2.2) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามความคิดเห็นของครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน โดยภาพรวมไม่แตกต่าง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามความคิดเห็นของครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่อยู่ในกลุ่มโรงเรียนต่างกัน โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

สุภาวดี ลาภเจริญ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

กุนนที พุ่มสงวน และกัลยา ไผ่เกาะ. (2557). พยาบาลกับความฉลาดทางอารมณ์.

วารสารพยาบาลทหารบก. 15(3), (19 - 20)

จุฑามาศ มีน้อย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับผลการปฏิบัติงาน

ของเจ้าหน้าที่สรรพากรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ศิลปากร.

ณัฏฐยา ลามุล. (2559). ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์กับประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหาร

โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามุกดาหาร.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนครพนม.

ธัญญารัตน์ ทับทิม. (2557). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ธิดารัตน์ รัศมี. (2556). ความฉลาดทางอารมณ์กับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ศิลปากร.

นงครักษ์ ทันเพื่อน. (2550). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนที่มีผลต่อประสิทธิผลการ

บริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สกลนคร เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นิดา แซ่ตั้ง. (2555). ความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดในการเผชิญอุปสรรคที่มีผลต่อการ

ทำงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

นิรันดร์ เนตรภักดี. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นําอย่างแท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น . บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล. (2551). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การสร้างความเข้มแข็งทางใจ

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

พิมใจ วิเศษ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับ

ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูอำเภอบ้านนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษานครนายก. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

มุทิตา อินกล่ำ. (2556). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับภาวะผู้นําการ

เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

เขต 18. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรรณะ บรรจง. (2558). สถิติการวิจัย. สุราษฎร์ธานี : เอ็กซ์เพรส.

ศศิธร ศิริพัฒนโกศล. (2553). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิบัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สร้อยกัญญา โพธิสมภาพวงษ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร

สถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารสถนศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและ

ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สิงห์บุรี. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สุภาภรณ์ เอกเผ่าพันธุ์, (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับภาวะผู้นำการ

เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

มัธยมศึกษา เขต 18 บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภิญญา งามพริ้ง. (2556). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขต

พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิบัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรีย์พร รุ่งกำจัด. (2556). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงาน

ด้านบุคคลของสถานศึกษา อำเภอองครักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษานครนายก. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุวิมล จุลวานิช และนพมณี ฤทธิกุลสิทธิชัย. (2556). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของ

นักศึกษาปริญญาตรี คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

อิสริยาภรณ์ ชัยกุหลาบ. (2553). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 เขต 2และเขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education

(7 th Ed.). New York: Routledge.

Cooper, R.K. and Sawaf, A. (1997). Executive E.Q. : Emotional Intelligence in

Leadership and Organization. New York: Grosset and Putnam.

Gibbs, N. (October 1995). “The E.Q. Factor,” Time. 2 (146) : 261.

Goleman, D. (1995). Emotional Intelligence. New York: Bantam Books.

_______.(1998). Working with Emotional Intelligence. New York: Bantam Books.

Gorton, A. R. (1983). School Leadership and Administration : Important Concepts,

Case Studies, and Simulations. Dubuque, Iowa : Wm. C. Brown.

Mayer, J.D. and Salovey, P. (1997). Emotional Development and Emotional

Intelligence: Educational Implications. New York: Basic Book.