อิทธิพลภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูในโรงเรียนกลุ่ม สหวิทยาเขตรัชวิภา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

Main Article Content

ถนอมศักดิ์ ทองประเทือง
สุดารัตน์ สารสว่าง
วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครู และ 4) ศึกษาอิทธิพลภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพัน
ต่อองค์การของข้าราชการครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูในโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตรัชวิภา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 285 คน โดยกำหนดตามตารางสำเร็จของ Krejcie & Morgan (1970) จากนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยจับสลากจำนวนครูตามสัดส่วนของประชากรในโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC อยู่ระหว่าง
0.60 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้านภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเท่ากับ 0.90 และความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย ด้านความเคารพนับถือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความยุติธรรม ด้านความซื่อสัตย์ และด้านความไว้วางใจ ตามลำดับ 2) ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครู อยู่ในระดับมาก ทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย ความผูกพันด้านบรรทัดฐานทางสังคม ความผูกพันด้านจิตใจ และความผูกพันด้านการคงอยู่กับองค์การ ตามลำดับ 3) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) อยู่ระหว่าง 0.559 - 0.942 4) อิทธิพลภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อความผูกพัน ต่อองค์การของข้าราชการครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถร่วมกันพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครู ได้ร้อยละ 41.40 ประกอบด้วย ด้านความเคารพนับถือ และด้านความรับผิดชอบ ตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สุดารัตน์ สารสว่าง , มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

References

เกวลิน เมืองชู, จุติพร อัศวโสวรรณและธีระพงษ์ สมเขาใหญ่. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม

ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์ 6 (3): 76-77.

จิระวัฒน์ ตันสกุล. (2558). การพัฒนาโมเดลการวัดและโมเดลสมการเชิงโครงสร้างพหุระดับความผูกพันของครู. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรพัฒน์ เพชรศรีจันทร์ (2562). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ

ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดอุทัยธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ผาสุก สุมามาลย์กุล. (2560). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดองค์การที่สร้าง

ความผูกพันของครูและนักเรียน. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (2542, สิงหาคม 19). ราชกิจจานุเบกษา, 116 (74ก),

พิมพฤทธิ์ เที่ยงภักดิ์. (2565). รูปแบบการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารสิรินธรปริทรรศน์ 23 (1): 226-228

เลิศชัย สุธรรมานนท์. (2560). กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อองค์กรยั่งยืน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สารชา พิมพาคุณ และถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข. (2560). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สุพัตรา สิทธิคงตั้ง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารกับความผูกพันในองค์กรของครูโรงเรียนคริสเตียน สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย เขตจังหวัดเชียงราย – เชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ 13 (1): 178-182.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2565). การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู (ย้ายกรณีปกติ) ปี พ.ศ. 2566. แหล่งที่มา: http://www.sesao2.go.th/, 20 ตุลาคม 2565.

Dirks, K.T. and Ferrin, D.L. 2002. Trust in leadership: Meta-analytic findings and

implications for research and practice. Journal of Applied Psychology

(4): 611-628.

Heres, L. and Lasthuizen, K. 2010. ETHICAL LEADERSHIP: A VARIFORM UNIVERSAL PHENOMENON. Available Source: http://www.fsw.vu.nl/integriteit, October

, 2022.

Kouzes, J. M., & Posner, B. Z. 2007. The leadership challenge (4th ed.). Jossey-Bass.

Northouse, P.G. Leadership: Theory and practice. 4 th ed. Sage : Thousand Oaks, CA, 2007.

Neubert, M., Wu, C., and Roberts, J. 2013. The influence of ethical leadership and regulatory focus on employee outcomes. Business Ethics Quarterly 23 (2): 269-296.

Sergiovanni, T.J. 1992. Moral Leadership: getting to the heart of school improvement. Jossey-Bass Inc, San Francisco.