ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 Administrators’ Emotional Quotient Under Samutprakan Primary Educational Service Area Office 1

Main Article Content

rungnapa Thongyod
อำนวย ทองโปร่ง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยจำแนกตามขนาดสถานศึกษา วิทยฐานะ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 310 คน โดยการใช้ตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p. 607) และวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยแบ่งกลุ่มตามขนาดสถานศึกษา จากนั้นเทียบสัดส่วนของกลุ่มประชากรของแต่ละสถานศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งจำนวนกลุ่มตัวอย่างของสถานศึกษาตามขนาดของสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .969 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเป็นรายคู่ด้วยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Multiple Comparison Method)


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความคิดเห็นของครูที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านสร้างแรงจูงใจให้ตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด

  2. ครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่มีขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

  3. ครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันยกเว้นด้านการควบคุมตนเอง ด้านการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ด้านทักษะทางสังคม พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  4. ครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านการควบคุมตนเอง และด้านการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: ความฉลาดทางอารมณ์ ; ผู้บริหารสถานศึกษา ; ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา


 


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

อำนวย ทองโปร่ง, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Ramkhamhaeng University

References

ชาปิยา สิมลา. (2563). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของ

ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. ปริญญาศึกษาศาสตร

มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทักษอร ฝึกวาจา. (2559). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา

ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิดา แซ่ตั้ง. (2555). ความฉลาดทางอารมณ์ และความฉลาดในการเผชิญอุปสรรคที่มีผลต่อ

การทำงานของพนักงานธนาคารไทยพานิชย์ในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการจัดการ.มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

รายงานการประเมินภายนอกรอบสี่ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนอนุบาลวัดพิชัยสงคราม.

สมุทรปราการ: โรงเรียนอนุบาลวัดพิชัยสงคราม 6, 2560

สุภาวดี วุฒิรัตน์. (2561).ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา

กับการดำเนินงานด้านบุคคลของสถานศึกษา อำเภอไทรน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2.งานนิพนธ์.หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.คณะศึกษาศาสตร. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุไรวรรณ ชูมี. (2561). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้

ของครูผู้สอน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1.การค้นคว้าอิสระ.หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ภาษาต่างประเทศ

Bar-On, Reuven., and James Parker D.A. The Handbook of Emotional Intelligence.

San Francisco: Jossey – Bass. 2000, 108

Cooper, Robert K. and Sawaf, Ayman. Excuetive EQ intelligence in Leadership

and organization .New York : Berkly Publishing Group. 1997, 125.

Daniel Goleman, Primal leadership: Unleashing the Power of Emotional

Intelligence (Boston: Harvard way, Massachusetts,2013), 142-143

Peter Salovey and John D. Mayer, Emotional Intelligence Imagination Cognition

and Personality (New Jersey: McGraw-Hill, 1997), 11