ภาวะผู้นำเชิงอำนาจบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกลุ่ม กรุงเทพตะวันออก สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

มยุรี ศรีวงษ์ชัย
อำนวย ทองโปร่ง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงอำนาจบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนกลุ่มกรุงเทพตะวันออก สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงเทพตะวันออกจำแนก กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 354 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ  ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงอำนาจบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงอำนาจบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านมีวิสัยทัศน์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงอำนาจบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านมีวิสัยทัศน์และด้านคุณธรรมและจริยธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงอำนาจบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีวิสัยทัศน์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านคุณธรรมและจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

อำนวย ทองโปร่ง, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Ramkhamhaeng University

References

กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา. (2560). ภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริการที่ส่งผลต่อประสิทธิผงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร

ชลาลัย นิมิบุตร (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร.วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์.

นพรินร์ สุบินรัตน์ ดี (2561).ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหานสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19.มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตศรีล้านช้าง.

นุชนาฎ เพชรชำนาญ (2563).ภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

เนรมิตร มีเพียร. (2560), การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงบารมีในเขตพื้นที่ตำบลคุระ เกอคุระบุรีจังหวัดพังงา. (หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา).

ภวภัทร ภัทรหิรัญกนก. (2548). ภาวะผู้นำแบบบารมีและการจูงใจของผู้นำ ทีมบริหารที่มีผลต่อแรงจูงในการทำงานความพึงพอใจในงานความผูกพันต่อองค์กรและการรับรู้ประสิทธิภาพของทีมบริหารในธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กระบบโคเจนเนอเรชัน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์.

ภัทร์ระพี วารีดี (2565).อิทธิพลของภาวะผู้นำบารมีจากมุมมองของข้าราชการฝ่ายปกครอง ในจังหวัดปัตตานี.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วาสินี สุวรรณคาม.(2564).ภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

วิศรุต มาเจริญ. (2563). รูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย

สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2564). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร.(2564) แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร.(2556-2575). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

อารีรัตน์ จีนแส. (2562). ภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1., มหาวิทยาลัยพะเยา

อรอุมา สินธุพันธ์ (2562) ภาวะผู้นําเชิงแบบอํานาจบารมีของนายกเทศมนตรี เทศบาลตําบล ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.