แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สหวิทยศึกษาศรีเสาวภาค สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ศิริอร บรรพโต
พร้อมพิไล บัวสุวรรณ
สุดารัตน์ สารสว่าง

摘要

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อระบุและจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ประชากรการศึกษาเชิงปริมาณ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในสถานศึกษาของสหวิทยศึกษาศรีเสาวภาค จำนวน 102 คน และผู้ให้ข้อมูลการศึกษาเชิงคุณภาพ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 5 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การดำเนินงานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (m) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) ใช้การวิเคราะห์ 2 วิธี ประกอบด้วย (PNImodified) กับวิธีการวิเคราะห์แบบแมทริกซ์ และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) สิ่งที่บุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาในสหวิทยศึกษาศรีเสาวภาคยังดำเนินงานได้น้อยกว่าระดับที่เป็นจริง อันดับสูงสุด คือ การดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา จากการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในสถานศึกษา 2) แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสหวิทยศึกษาศรีเสาวภาค คือ จัดตั้งกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้งานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อเป็นการระดมความคิดและตระหนักถึงการมีส่วนร่วมให้บุคลากรในสถานศึกษารับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง สร้างความรู้เข้าใจในงานและตระหนักในบทบาทตนเองเพื่อมุ่งสู่คุณภาพการศึกษาเดียวกันและมีระบบพี่เลี้ยงในกลุ่ม


 

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles
##submission.authorBiographies##

##submission.authorWithAffiliation##

Kasetsart University

##submission.authorWithAffiliation##

Kasetsart University

参考

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

คุรุสภา ลาดพร้าว.

ขวัญใจ วงศ์สุวรรณ. (2566) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการดำเนินงาน ประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชญานิศ โฆษิตพิมานเวช. (2565). การนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปปรับปรุงสถานศึกษา.

วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 44(2): 150-160.

นาวิน นิลแสงรัตน์. (2565). การประกันคุณภาพภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

มยุรี วรวรรณ. (2563). แนวทางการพัฒนาการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของ โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์. (2565). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (ออนไลน์). https://person.mwit.ac.th/-Statutes/NationalEducation.pdf/, 20 มีนาคม 2565

สํานักทดสอบทางการศึกษา. (2561). คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. (ออนไลน์). http://www.ca.ru.ac.th/ga/images/document/gads61.pdf,21 มีนาคม 2565.

สํานักทดสอบทางการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด

เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

Alderfer. (1969). Anempirical test of a new theory of human needs. Organization. Behavior& Human performance, 142-176

Ashta, Ashok. (2018). Change Management in Indo-Japanese Cross-

culturalCollaborative Contexts. Journal of Organizational Change Management.

Evelyn, C. G. (2012). Quality assurance in higher education in Zimbabwe.Zimbabwe:

Zimbabwe Council for Higher Education.

Fasasi, Yunus Adebunmi and Oyeniran, Saheed. (2015). Assessing Principals' Quality Assurance Strategies in Osun State Secondary Schools, Nigeria.International Journal of Instruction.

Greene,William H. (1998). Econometric Analysis (Fifth Edition). Pearson Education

International.

James N. Johnstone, Indicators of education system (London: Unesco, 1981), 221.