แนวทางการแก้ไขปัญหาการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลด้านสวัสดิการและ สิทธิประโยชน์ของบุคลากรที่มีความพิการในวิทยาลัยราชสุดา

Main Article Content

สุพัศศินี บุตรธรรมฐณัฐ
อรอนงค์ สงเจริญ
วราลี สมภักดี
วรวรรณ นิลมาลี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้และการเข้าถึงข้อมูลด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของบุคลากรที่มีความพิการในวิทยาลัยราชสุดา (2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการรับรู้และการเข้าถึงข้อมูลด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของบุคลากรที่มีความพิการในวิทยาลัยราชสุดา และ (3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการรับรู้และการเข้าถึงข้อมูล ด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของบุคลากรที่มีความพิการในวิทยาลัยราชสุดา โดยใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรที่มีความพิการมีระดับการรับรู้และระดับการเข้าถึงข้อมูลด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของมหาวิทยาลัยมหิดลและวิทยาลัยราชสุดาอยู่ในระดับน้อย (2) ปัญหาและอุปสรรคของบุคลากรที่มีความพิการในการรับรู้และการเข้าถึงข้อมูลด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลไม่สะดวก และการประชาสัมพันธ์ (3) แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการรับรู้และการเข้าถึงข้อมูลด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของบุคลากรที่มีความพิการ คือ การมีสื่อเป็นการเฉพาะ และการเข้าถึงบริการทั่วไป

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

อรอนงค์ สงเจริญ, มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล

วราลี สมภักดี , มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล

วรวรรณ นิลมาลี, มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล

References

ชลิตา ซื่อตรง. (2558). การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตของผู้พิการทางสายตาในประเทศไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตรี บุญเจือ. (2558). คนพิการกับการเข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสารด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา.

ธรรม จตุนาม. (2550). การเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการ. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์แลเทคโนโลยีแห่งชาติ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2564, จาก https://library2.parliament.go.th/wichakarn/content-seminar/20070530.html.

ธัญชนก ผิวคํา และสุรชัย สุขสกุลชัย. (2560). การศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้พิการทางสายตา ศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 3(2).

เบญญาภา ต้นกันยา. (2557). ทัศนคติของประชาชนต่อการรับรู้ข้อมูลของเทศบาลนครลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเนชัน.

ปริญญา สิริอัตตะกุล. (2555). ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อการพึ่งตนเองของผู้พิการทางการได้ยิน: กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรี. สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.).

พวงแก้ว กิจธรรม. (2557). คนพิการกับการเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียม. มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย.

มนฑกาจน์ ชุมภูธิมา. (2560). ศูนย์บริการคนพิการมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.การใช้ชีวิตและการสนทนากับคนตาบอด. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2563, จาก http://cfbt.or.th/dsc/index.php/article/14-living-and-talking-to-the-blind.

ศิวนารถ หงส์ประยูร. (2558). การพัฒนารายการข่าวทางสื่ออินเทอร์เน็ตทีวี (IPTV) สำหรับคนหูหนวก. วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(90), 291–312.

สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย. (2544). คู่มืออาสาสมัคร ร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอด สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย. สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย

สายทิพย์ ปิ่นเจริญ. (2558). ปัญหาอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายกับพนักงานสอบสวน:กรณีศึกษาสถานีตำรวจในเขตพื้นที่กรุงเทพมหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพัศศินี บุตรธรรมฐณัฐ. (2560). รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของบุคลากรต่อองค์การ (Workforce Engagement Survey). วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล.